ผลการติดตามเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีนโควิด 19 (AEFI) ของผู้รับบริการฉีดวัคซีน โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • สุภาพร จิรมหาศาล

คำสำคัญ:

วัคซีนโควิด 19, เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีนโควิด 19

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการติดตามเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีนโควิด 19
(AEFI) ของผู้มารับบริการฉีดวัคซีน โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างเป็น
ผู้รับบริการฉีดวัคซีนโควิด 19 ที่พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ภายหลังได้รับวัคซีนโควิด 19 (AEFI) ภายใน 30 วัน
ระหว่างวันที่ 21 เม.ย.2564 – 31 ม.ค. 2565 จำนวน 312 ราย ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บ
รวบรวมข้อมูลการได้รับวัคซีนโควิด 19 ของผู้มารับบริการ โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) ตามแบบประเมิน
อาการไม่พึงประสงค์จากการได้รับวัคซีนโควิด 19 ของกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data)
จากระบบ AEFI DDC ข้อมูลจากระบบสารสนเทศภายในโรงพยาบาล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่า
พิสัย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีนโควิด 19 (AEFI) ที่มีรายงานสูงสุดได้แก่ เพศหญิง
ร้อยละ 78.20 อาชีพส่วนใหญ่ รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 48.10ไม่มีประวัติแพ้ยา หรือประวัติโรคร่วม ร้อยละ
85.60 และ 77.60 ตามลำดับ วัคซีน Sinovac ร้อยละ 66.00 โดส 1 ร้อยละ 76.90 พบรายงาน AEFI ภายใน 1 วัน
ร้อยละ 47.40 หายเองไม่ได้เข้ารับการรักษา ร้อยละ 40.70 พบอาการไม่รุนแรง ร้อยละ 90.70 สถานะ หาย ร้อยละ
91.30 ดังนั้นควรส่งเสริมให้ประชาชนได้รับและเข้าถึงการบริการฉีดวัคซีนโควิด 19 ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย เกิด
ความมั่นใจต่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการได้รับวัคซีนโควิด 19

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-15