การพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือด: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
ปอดอักเสบ, การติดเชื้อในกระแสเลือด, การพยาบาลบทคัดย่อ
กรณีศึกษา ผู้ป่วยชายไทย อายุ 72 ปี 5 วันก่อนมาโรงพยาบาลมี ไอมีเสมหะขาว ใส ไม่เจ็บคอ 2 วันก่อนมา
โรงพยาบาลมีไข้ ไอมีเสมหะเหลือง เหนียว หายใจหอบเหนื่อยมากขึ้น ญาติจึงนำส่งโรงพยาบาล แพทย์วินิจฉัย
Pneumonia with Sepsis รับไว้รักษา ณ หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย ได้รับออกซิเจนด้วย High-flow nasal cannula
(HFNC)ได้ให้พยาบาล ระยะวิกฤต ป้องกันภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดและภาวะเสียสมดุลของเกลือแร่ใน
ร่างกาย เกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลงเนื่องจากการติดเชื้อของปอด ต้องได้รับออกซิเจนด้วย HFNC เพื่อเพิ่มออกซิเจน
ในร่างกายและป้องกันการใส่ท่อช่วยหายใจรายใหม่ ระยะกึ่งวิกฤต เมื่อผู้ป่วยตอบสนองต่อการได้รับออกซิเจนด้วย
HFNC ต้องสังเกตภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากออกซิเจนเป็นพิษ เมื่ออาการดีขึ้นเริ่มระยะฟื้นฟู ดูแลหย่าเครื่อง HFNC และ
ลดความกังวลของผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับโรค อาการ และแผนการรักษาของแพทย์ เตรียมวางแผนระยะจำหน่ายโดยให้
ความรู้ และการปฏิบัติตัวได้ถูกต้องหลังจำหน่ายตามหลัก D-METHOD รวมจำนวนวันนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
7 วัน และจากการติดตามผลการรักษาพบว่าไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
บทบาทของพยาบาลที่ ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอายุรกรรมมีส่วนสำคัญมากในการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่ระยะวิกฤต
ฉุกเฉิน ระยะกึ่งวิกฤต ระยะฟื้นฟู และระยะวางแผนจำหน่าย เพราะแต่ละระยะสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนทำให้ผู้ป่วย
เสียชีวิตได้ ดังนั้นพยาบาลมีความรู้และทักษะในการปฏิบัติการพยาบาลเรื่องการประเมินภาวะ pneumonia รวมถึงการ
ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะ sepsis อย่างชำนาญ นำไปสู่การปฏิบัติการพยาบาลที่สอดคล้องกับปัญหาของผู้ป่วย แต่ละคนได้
อย่างมีประสิทธิภาพเกิดผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่ดี