การพยาบาลระยะฉุกเฉินผู้ป่วยนิ่วในถุงน้าดีอักเสบเฉียบพลันที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อ ในกระแสเลือด : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • พัชรี ค้าแก้ว

คำสำคัญ:

การพยาบาลระยะฉุกเฉิน, ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ, การรักษาระบบไหลเวียนโลหิต, การให้สารน้ำ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยนิ่วในถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันที่มีภาวะช็อกจากการ
ติดเชื้อในกระแสเลือด
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยชายไทย อายุ 58 ปี เข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช
วันที่ 29 เมษายน 2565 ด้วยอาการซึม มีไข้สูงหนาวสั่น ปวดท้องด้านขวาบน 1 วันก่อนมาโรงพยาบาล จากการ
ประเมินตามแนวทางการดูแลผู้ป่วย Sepsis พบว่า ผู้ป่วยมีอาการของ SIRS ครบทั้ง 4 ข้อ คือ อุณหภูมิร่างกาย 38.1
องศาเซลเซียส อัตราหายใจเร็ว 26 ครั้งต่อนาที อัตราหัวใจเต้น 116 ครั้งต่อนาที ผลการตรวจ เลือด CBC พบปริมาณ
เม็ดเลือดขาว 13,660 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร แพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีภาวะ sepsis ส่งตรวจเอกซเรย์ในช่องท้อง
ด่วนพบ การติดเชื้อในถุงน้ำดีเฉียบพลัน ให้การรักษาพยาบาลโดยรวดเร็ว ณ ห้องฉุกเฉิน ตาม 6 bundle เพื่อเพิ่มการ
ไหลเวียนเลือดและการขนส่งออกซิเจนไปสู่เนื้อเยื่อส่วนปลาย โดยได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ ส่งตรวจเลือดเพาะเชื้อ
ให้ยา Ceftriazone 2 gm intravenous drip, วัดความดันโลหิต 80/40 มิลลิเมตรปรอท 0.9% NSS load 1,000 ml
Levophed 4 mg ผสมใน 5% D/W 250 ml (1:62.5) intravenous drip 15 ml/hr. ให้การพยาบาลฉุกเฉินโดย
ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพ อาการ อาการแสดง และระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วย ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอด
เลือดและยาตามแผนการรักษาโดยใช้ infusion pump ใส่สายสวนปัสสาวะ วัดความดันโลหิตซ้ำได้ 98/58 มิลลิเมตร
ปรอท ผู้ป่วยได้รับการส่งต่อเข้ารักษาที่ห้องผู้ป่วยหนัก ได้รับการผ่าตัด ERCP วันที่ 30 เมษายน 2565 ภายหลังรักษา
ตัวอยู่ในโรงพยาบาล 9 วัน จึงจำหน่ายกลับบ้าน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-15