การพยาบาลผู้ป่วยเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นที่รักษาด้วยการส่องกล้อง

ผู้แต่ง

  • สมฤดี ยังเจริญ

คำสำคัญ:

การพยาบาล, เลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น, ภาวะช็อก, การส่องกล้อง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นที่รักษาด้วยการ
ส่องกล้อง
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยชายไทยอายุ 64 ปี เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลพระ
นารายณ์มหาราช วันที่ 29 กรกฎาคม 2564 ด้วยอาการเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น มีโรคประจาตัว
เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม 2564 ถึงวันที่ 3 สิงหาคม 2564 พบว่าผู้ป่วยมี
ปัญหา ในระยะก่อนส่องกล้อง 1) ผู้ป่วยและญาติวิตกกังวลเกี่ยวกับโรคและการส่องกล้องกระเพาะอาหาร 2) เสี่ยง
ต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่า ระยะขณะส่องกล้อง 1) เสี่ยงต่อภาวะช็อกจากมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร และออก
เพิ่มจากการทำหัตถการส่องกล้อง 2) เสี่ยงต่อการเกิดสูดสำลักและภาวะพร่องออกซิเจนขณะส่องกล้อง ระยะหลัง
ส่องกล้อง 1) เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนหลังส่องกล้องได้แก่ แผลทะลุจากการทำหัตถการ 2) ผู้ป่วยและญาติพร่อง
ความรู้ในการดูแลตนเอง หลังการตรวจรักษาสามารถหยุดเลือดได้ ภายหลังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 5 วัน จึง
จำหน่ายออกจากโรงพยาบาล จากการติดตามผลการรักษาไม่มีภาวะแทรกซ้อน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-15

How to Cite

ยังเจริญ ส. . (2022). การพยาบาลผู้ป่วยเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นที่รักษาด้วยการส่องกล้อง. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 7(2), 45–51. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/548