ภาวะสุขภาพจิตและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิตของประชาชนอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ไชยวัฒน์ แพงพรมมา

คำสำคัญ:

ภาวะสุขภาพจิต, ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ (Analytical Study) ศึกษาแบบภาพตัดขวาง ณ จุดเวลาหนึ่ง (Cross –
Sectional Study) เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิต รวมถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดปัญหาสุขภาพจิตและปัจจัยที่
เป็นตัวทำนาย การเกิดปัญหาสุขภาพจิตของประชาชน อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างได้แก่
ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 380 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้
แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา การแจกแจงความถี่ (Frequency) เป็นค่าร้อยละ
(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าเฉลี่ย
เปอร์เซ็นไทล์ ค่าสูงสุด (Max) และค่าต่ำสุด (Min) สถิติเชิงวิเคราะห์ ใช้สถิติ Chi–Square, Odds Ratio, 95%
Confidence Interval of OR โดยกำหนดการมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และสถิติ Binary Logistic Regression
ผลการศึกษา 1) ภาวะสุขภาพจิตของประชาชนอำเภอหนองแสง พบว่า ส่วนใหญ่มีสุขภาพจิตเท่ากับคนทั่วไป
สำหรับกลุ่มผู้ที่มีระดับสุขภาพจิตต่ากว่าคนทั่วไป การประเมินภาวะความเครียด พบว่า ส่วนใหญ่มีความเครียดน้อย
สำหรับกลุ่มผู้ที่มีระดับความเครียดสูง ทำการประเมินภาวะซึมเศร้า โดยใช้แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าของกรม
สุขภาพจิต พบว่า ส่วนใหญ่มีภาวะซึมเศร้าต่ำ 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และปัจจัยที่ทำนายการเกิดปัญหาสุขภาพจิต
พบว่า ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดปัญหาสุขภาพจิตได้แก่ สถานภาพสมรส รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ความ
พอเพียงของรายได้ การมีโรคประจำตัว ความทุกข์ใจในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา 3) ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับการเกิด
ปัญหาสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำนวน 2 ตัวแปร ได้แก่ การมีโรคประจำตัว (OR Adjusted
= 1.93, 95 % CI=1.10-3.36) และความทุกข์ใจในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา (OR Adjusted = 1.80, 95 % CI=1.06-
3.06)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-15