การพยาบาลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายร่วมกับภาวะหายใจล้มเหลวที่ได้รับ การล้างไตทางช่องท้อง

ผู้แต่ง

  • อารยา ดำรงกิจ

คำสำคัญ:

การพยาบาล, โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย, ภาวะหายใจล้มเหลว, การล้างไตทางช่องท้อง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายร่วมกับภาวะหายใจ
ล้มเหลวที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยพระภิกษุ อายุ 45 ปี เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบ้านหมี่
วันที่ 14 กรกฎาคม 2564 ด้วยอาการสำคัญ หายใจเหนื่อยหอบ มีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน 1 วัน ก่อนมา
โรงพยาบาล เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 4 ปี รับประทานยาไม่สม่ำเสมอ แพทย์วินิจฉัย End stage renal
disease with Volume overload ให้เข้ารักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย แรกรับมีอาการไอ นอนราบไม่ได้ บวม
รอบดวงตา หน้า ขาบวมกดบุ๋ม 2+ผลการตรวจภาพถ่ายรังสีทรวงอก มี Both lung infiltrate, Alveola edema,
Cardiomegaly ให้การพยาบาลเพื่อลดภาวะน้ำเกิน ป้องกันภาวะพร่องออกซิเจน โดยได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ
ระยะเวลานาน 7 วัน จากนั้นแพทย์ทาผ่าตัดใส่สาย Tenckhoff catheter วันที่ 23 กรกฎาคม 2565 หลังผ่าตัดเฝ้า
ระวังภาวะแทรกซ้อนจากการวางสายยางล้างไตทางช่องท้อง ผู้ป่วยปลอดภัยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด
และการทดสอบล้างไต มีความสมดุลของสารน้ำและอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย ให้จำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้านได้ในวันที่
30 กรกฎาคม 2565 รวมระยะเวลานอนโรงพยาบาล 16 วัน จากการติดตามผลการรักษา ผู้ป่วยมารับการสอนล้าง
ไตทางหน้าท้องจำนวน 3 ครั้ง ภายหลังจำหน่าย ไม่พบอาการผิดปกติ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-15

How to Cite

ดำรงกิจ อ. . (2022). การพยาบาลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายร่วมกับภาวะหายใจล้มเหลวที่ได้รับ การล้างไตทางช่องท้อง. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 7(2), 93–99. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/553