ประสิทธิผลการดาเนินงานโครงการ 30 บาท รักษาทุกที่ จังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • สง่า ไชยนา

คำสำคัญ:

ประสิทธิผลการดำเนินงานโครงการ 30 บาท รักษาทุกที่

บทคัดย่อ

หนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจำนวน 429 คน ได้แก่ กลุ่มเป้าหมายฝ่ายผู้ให้บริการ กลุ่มเป้าหมายฝ่ายผู้รับบริการ
เป็นประชาชนผู้มีสิทธิการรักษาพยาบาลบัตรทอง ตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในจังหวัดหนองบัวลำภู เก็บ
รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean)
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Diviation)
ผลการวิจัย: 1) ด้านบริบท ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมของการดำเนินงานโครงการ 30 บาท รักษาทุกที่ จังหวัด
หนองบัวลำภู มีความเหมะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( Mean = 4.50, SD = 0.59 ) 2) ด้านปัจจัยนำเข้า ผลการศึกษาพบว่า
ในภาพรวมของการดำเนินงานโครงการ 30 บาท รักษาทุกที่ จังหวัดหนองบัวลำภู ด้านปัจจัยนำเข้า มีความเหมะสมอยู่ใน
ระดับมากที่สุด (Mean = 4.40, SD = 0.84) 3) ด้านกระบวนการ ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมของการดำเนินงาน
โครงการ 30 บาท รักษาทุกที่ จังหวัดหนองบัวลำภู ด้านกระบวนการ มีความเหมะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.30,
SD = 0.69) 4) ด้านผลผลิต 4.1) ผลการให้บริการตามชุดสิทธิประโยชน์ของโครงการ ผลการศึกษา พบว่า มีการจัดบริการ
ครอบคุลมพื้นที่ทุกอำเภอ สามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนได้ 4.2) การรับรู้สิทธิประโยชน์ของประชาชนผู้มี
สิทธิ ผลการศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยการรับรู้สิทธิประโยชน์โครงการ 30 บาท รักษาทุกที่ ของประชาชนผู้มีสิทธิอยู่ในระดับ
ปานกลาง ร้อยละ 56.39 4.3) ความพึงพอใจของผู้มีสิทธิ ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิมีความพึงพอใจต่อสิทธิ
ประโยชน์ตามโครงการและเห็นว่า มีความเหมะสมอยู่ในระดับมาก (Mean =4.50, SD = 0.61) 4.4) ความพึงพอใจของผู้
ให้บริการ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ให้บริการมีความพึงพอใจต่อสิทธิประโยชน์ตามโครงการและเห็นว่ามีความ
เหมะสมอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.79, SD = 0.45) 4.5) ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงพัฒนาโครงการ
30 บาท รักษาทุกที่ ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิมีความมั่นใจในศักยภาพการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพตำบล และระบบการส่งต่อผู้ป่วย ร้อยละ 52.01 และ มีความเชื่อมั่นว่า จะได้รับความคุ้มครองตามชุดสิทธิ
ประโยชน์ โครงการ 30 บาท รักษาทุกที่ หากมีความจาเป็นต้องไปรับบริการในหน่วยบริการอื่น ที่ไม่ใช่หน่วยบริการที่ระบุ
ในบัตรสุขภาพ ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 42.96

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-15

How to Cite

ไชยนา ส. . (2022). ประสิทธิผลการดาเนินงานโครงการ 30 บาท รักษาทุกที่ จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 7(2), 117–126. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/582