การศึกษาผลการบริบาลทางเภสัชกรรมต่อการควบคุมโรคหืดของผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลดอนตูม จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ประภา ทรงเดชาไกรวุฒิ

คำสำคัญ:

การบริบาลทางเภสัชกรรม, โรคหืดของผู้ป่วยนอก

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลการบริบาลทางเภสัชกรรม
ในผู้ป่วยโรคหืดที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลดอนตูม โดยวิเคราะห์ถึงประเภทและความถี่ของปัญหาเกี่ยวกับยา
ที่พบในผู้ป่วย ประเมินการใช้ยาสูดพ่น และศึกษาผลลัพธ์การเกิดอาการหอบหืดของผู้ป่วยโดยเปรียบเทียบผลก่อน
และหลังการดำเนินงานบริบาลเภสัชกรรม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคหืด
และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลดอนตูม อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม ระว่าง ปี 2560 – 2562 จานวน 85
คน เก็บข้อมูลจาก OPD Card Asthma Clinic แบบบันทึกการใช้ยา แบบบันทึกประเภทปัญหาจากการใช้ยาและ
การให้คาปรึกษาแก่ผู้ป่วยเฉพาะราย และแบบประเมินเทคนิคการใช้ยาสูดพ่น (MDI, DPI) ของโรงพยาบาลดอนตูม
วิเคราะห์ข้อมูล โดย สถิติเชิงพรรณนา ( Descriptive Statistics ) ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency
Distribution) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x̄) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์
ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยมีผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีขึ้นซึ่งพิจารณาจากข้อมูลการเข้ารับการรักษาภาวะหอบ
รุนแรงเฉียบพลันในช่วงปีแรกและปีที่สองของการดาเนินงานเทียบกับช่วง 1 ปีก่อนเริ่มงานดังนี้ 1) ผู้ป่วยที่เข้ารับ
การรักษาที่ห้องฉุกเฉินด้วยภาวะหอบรุนแรงเฉียบพลันลดลงร้อยละ 70.97 2) ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน
ด้วยภาวะหอบรุนแรงเฉียบพลันลดลงร้อยละ 75.00 3) ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินด้วยภาวะหอบรุนแรง
เฉียบพลันซ้าภายใน 48 ชั่วโมง ลดลงร้อยละ 78.95 4) ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินด้วยภาวะหอบรุนแรง
เฉียบพลันซ้าภายใน 48 ชั่วโมง ลดลงร้อยละ 73.33 5) ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยด้วยภาวะหอบรุนแรง
เฉียบพลันลดลงร้อยละ 88.68 6) ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยด้วยภาวะหอบรุนแรงเฉียบพลันลดลงร้อยละ
85.14

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-15

How to Cite

ทรงเดชาไกรวุฒิ ป. . (2022). การศึกษาผลการบริบาลทางเภสัชกรรมต่อการควบคุมโรคหืดของผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลดอนตูม จังหวัดนครปฐม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 7(2), 133–142. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/588