การพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการป้องกันโรคไข้เลือดออกของแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว (กสค.) โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการบริหารจัดการ POCCC
คำสำคัญ:
ทฤษฏีการบริหารจัดการ POCCC, โรคไข้เลือดออก, แกนนาสุขภาพประจาครอบครัวบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาปัญหาการดาเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออกและพัฒนารูปแบบในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของ
แกนนำสุขภาพประจำครอบครัวโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการบริหารจัดการ POCCC เปรียบเทียบความรู้ การมี
ส่วนร่วม การปฏิบัติตัวของแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก ก่อนทดลองและหลัง
การทดลอง เปรียบเทียบค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย (HI CI BI) ของกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม ก่อน
ทดลองและหลังการทดลอง และศึกษาปัจจัยความสำเร็จของการดาเนินงานตามรูปแบบการพัฒนาการป้องกัน
โรคไข้เลือดออกในระดับชุมชนประชากรที่ศึกษา คือ แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว จานวน 128 คน เลือก
ตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลอง 64 คน กลุ่มควบคุม 64 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเดือน
กุมภาพันธ์ – กรกฏาคม 2562 โดยมีระยะที่ 1 ศึกษาปัญหาดาเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน
แกนนำสุขภาพ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของแกนนำสุขภาพ
ประจำครอบครัว ระยะที่ 3 ประเมินผลรูปแบบการป้องกันโรคไข้เลือดออกของแกนนำสุขภาพประจำ
ครอบครัว กลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมประยุกต์ใช้การบริหารจัดการ POCCC ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก
ประกอบด้วยการวางแผนการจัดองค์การ การบังคับบัญชาสั่งการ การประสานงาน การควบคุม เก็บรวบรวม
ข้อมูลวิจัยโดยใช้แบบสอบถาม แบบสารวจลูกน้ายุงลายของกรมควบคุมโรค วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อย
ละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test Independent t-test
ผลการวิจัยระยะที่ 1- 3 พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีระดับคะแนนความรู้ การมีส่วนร่วม
การปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคไข้เลือดออก สูงกว่าก่อนการทดลอง และมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ และเปรียบเทียบค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายในช่วงหลังการทดลองวัดซ้ำเพิ่มอีกใน 1 เดือน และ
3 เดือน กลุ่มทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลอง และต่ำกว่ากลุ่มควบคุม