การพัฒนารูปแบบการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด เครือข่ายงานอนามัยแม่และเด็กอำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ศิริรัตน์ สัตนา

คำสำคัญ:

การคลอดก่อนกำหนด

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนา (Research and Development research) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนา

รูปแบบการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด 2) ศึกษาผลลัพธ์การพัฒนารูปแบบการป้องกันการคลอดก่อน

กำหนด เครือข่ายงานอนามัยแม่และเด็ก อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ หญิง

ตั้งครรภ์ที่เข้ารับการฝากครรภ์เครือข่ายงานอนามัยแม่และเด็ก จานวน 41 คน และเครือข่ายงานอนามัยแม่

และเด็ก อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี จานวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ดาเนินการวิจัย ได้แก่ การระดม

สมอง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจก

แจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา 1) หญิงตั้งครรภ์ มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก

 2) หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก

การยืดระยะเวลาการตั้งครรภ์ตั้งแต่ที่ได้รับการวินิจฉัยทาการรักษาจนคลอดมากกว่า

48 ชั่วโมง แต่มากกว่าหรือเท่ากับ 37 สัปดาห์ คิดเป็น ร้อยละ 100 ไม่มีการกลับมารักษาซ้ำด้วยภาวะเจ็บ

ครรภ์คลอดก่อนกำหนด คิดเป็น ร้อยละ 85.8 อายุครรภ์เมื่อคลอดมากกว่าหรือเท่ากับ 37 สัปดาห์คิดเป็น ร้อย

ละ 100 3) ความคิดเห็นบุคลากรทีมสุขภาพ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ต่อรูปแบบการป้องกันการ

คลอดก่อนกำหนด มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 4) ความคิดเห็นบุคลากร

ทีมสุขภาพ ในโรงพยาบาลบุณฑริก ต่อการปฏิบัติการพยาบาลตามรูปแบบการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด มี

ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นบุคลากรทีมสุขภาพ ใน

โรงพยาบาลบุณฑริกต่อรูปแบบการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-15