การส่งเสริมการจัดการขยะโดยธนาคารขยะโรงเรียนเทศบาลบ้านค้อ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • กนิษฐา พอนทุม

คำสำคัญ:

การส่งเสริม, ธนาคารขยะ, ความรู้, ทัศนคติ, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วม ก่อนและหลังการส่งเสริม
ธนาคารขยะรีไซเคิลในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลบ้านค้อ ซึ่งได้มาจากการเลือก
แบบเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย คู่มือ แบบทดสอบความรู้ แบบวัดทัศนคติ
และแบบวัดการมีส่วนร่วม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired ttest
ผลการศึกษา พบว่า ก่อนการส่งเสริมผู้เข้ารับการส่งเสริมมีคะแนนความรู้เฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง หลังการ
ส่งเสริมผู้เข้ารับการส่งเสริมมีคะแนนความรู้เฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ก่อนและหลัง
การส่งเสริม พบว่า ผู้เข้ารับการส่งเสริมมีคะแนนเฉลี่ยความรู้หลังการส่งเสริมมากกว่าก่อนการส่งเสริม อย่างมีนัยสาคัญทาง
สถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการส่งเสริมผู้เข้ารับการส่งเสริมมีคะแนนทัศนคติเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับไม่แน่ใจ หลังการ
ส่งเสริมผู้เข้ารับการส่งเสริมมีคะแนนทัศนคติเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยทัศนคติก่อนและ
หลังการส่งเสริมผู้เข้ารับการส่งเสริมมีคะแนนเฉลี่ยทัศนคติที่ดีขึ้น และ ก่อนการส่งเสริมผู้เข้ารับการส่งเสริมมีคะแนนการมีส่วน
ร่วม เฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง หลังการส่งเสริมผู้เข้ารับการส่งเสริมมีคะแนนการมีส่วนร่วม เฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับ
มาก เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการมีส่วนร่วมก่อนและหลังการส่งเสริมผู้เข้ารับการส่งเสริมมีคะแนนเฉลี่ยการมีส่วนร่วมอยู่
ในระดับมาก อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-25

How to Cite

พอนทุม ก. (2022). การส่งเสริมการจัดการขยะโดยธนาคารขยะโรงเรียนเทศบาลบ้านค้อ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 1(1), 1–10. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/639