การส่งเสริมการทำสารสกัดจากสะเดาเพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืชและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สำหรับชาวบ้านดอนบม ตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
การส่งเสริม, สารสกัดจากสะเดา, แมลงศัตรูพืช, ความรู้, ทัศนคติบทคัดย่อ
วิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการทำสารสกัดจากสะเดาเพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืช และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อศึกษา
และเปรียบเทียบความรู้ และทัศนคติ ก่อนและหลังการส่งเสริม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาวิจัย คือ ชาวบ้านดอนบม ตำบลแวง
น่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 30 คน ได้มาจากการสมัครใจในการเข้าร่วมการส่งเสริม เครื่องมือที่ใช้ในการ
วิจัย ประกอบด้วย คู่มือและแผ่นพับการส่งเสริมการทำสารสกัดจากสะเดาเพื่อกาจัดแมลงศัตรูพืช และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
สำหรับชาวบ้านดอนบม แบบสอบถามความรู้ และแบบวัดทัศนคติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Paired t-test จากการศึกษา พบว่า ก่อนการส่งเสริมชาวบ้านมีความรู้อยู่ในระดับปาน
กลาง ( =12.30) หลังการส่งเสริมชาวบ้านมีความรู้อยู่ในระดับสูง ( =19.47) ก่อนการส่งเสริมชาวบ้านมีทัศนคติอยู่ในระดับ
ปานกลาง ( =1.75) และหลังการส่งเสริมชาวบ้านมีทัศคติอยู่ในระดับมาก ( =2.90) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและ
หลังการส่งเสริม พบว่า ชาวบ้านมีความรู้และทัศนคติเพิ่มมากขึ้นกว่าก่อนการส่งเสริมการทำสารสกัดจากสะเดาเพื่อกำจัดแมลง
ศัตรูพืช และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สำหรับชาวบ้านดอนบมอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ .05