การส่งเสริมการปลูกรางจืดเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ในชุมชนบ้านวังเหนือ ตำบลนาข่า อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • วชิรญาณ์ นาชัยบูรณ์

คำสำคัญ:

การส่งเสริม, การปลูกรางจืด, การอนุรักษ์, ความรู้, ทัศนคติ

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความรู้และทัศนคติก่อนและหลังการส่งเสริมการปลูกรางจืด
เพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ในชุมชน กลุ่มตัวอย่าง คือ ชาวบ้านบ้านวังเหนือ ซึ่งได้จากการสมัครใจเข้าร่วมการส่งเสริม
จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย คู่มือ แผ่นพับ แบบทดสอบวัดความรู้ และ แบบวัด
ทัศนคติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ.ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired- t – test
ผลการศึกษา พบว่า.ก่อนการส่งเสริมชาวบ้านมีคะแนนความรู้เฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับดี และหลังการส่งเสริมชาวบ้าน
มีความรู้อยู่ในระดับดีมาก เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการส่งเสริม พบว่า ชาวบ้านมีคะแนนเฉลี่ยความรู้หลัง
การส่งเสริมมากกว่าก่อนการส่งเสริม อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ก่อนการส่งเสริมชาวบ้าน มีคะแนนทัศนคติเฉลี่ย
โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย และหลังการส่งเสริมชาวบ้านมีคะแนนทัศนคติเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย เมื่อเปรียบเทียบ
คะแนนเฉลี่ยทัศนคติก่อนและหลังการส่งเสริม พบว่า ชาวบ้านมีคะแนนเฉลี่ยทัศนคติหลังการส่งเสริมสูงกว่าก่อนการส่งเสริม
อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-25

How to Cite

นาชัยบูรณ์ ว. (2022). การส่งเสริมการปลูกรางจืดเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ในชุมชนบ้านวังเหนือ ตำบลนาข่า อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 1(1), 56–64. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/644