การส่งเสริมการเลี้ยงหมูป่าคอกเพื่อใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์และอนุรักษ์ สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา
คำสำคัญ:
การส่งเสริม, การเลี้ยงหมูป่าคอก, ประสิทธิภาพ, ค่าดัชนีประสิทธิผล, ความรู้, ทัศนคติบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของคู่มือการส่งเสริมการเลี้ยงหมูป่าคอกเพื่อใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์และ
อนุรักษ์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของคู่มือการส่งเสริมการเลี้ยงหมูป่าคอกเพื่อใช้เป็นปุ๋ย
อินทรีย์และอนุรักษ์และเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความรู้และทัศนคติต่อการส่งเสริมการเลี้ยงหมูป่าคอกเพื่อใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์
และอนุรักษ์ก่อนและหลังการส่งเสริม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาวิจัย คือ นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษาคณะ
สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน30 คน ได้มาจากการสมัครใจเข้าร่วมการส่งเสริม เครื่องมือ
ที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยคู่มือและใบความรู้การส่งเสริมการเลี้ยงหมูปุาคอกเพื่อใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์และอนุรักษ์แบบทดสอบ
ความรู้และแบบวัดทัศนคติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าดัชนีประสิทธิผล ค่าความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐานและPaired t-testจาก
การศึกษา พบว่า ประสิทธิภาพของคู่มือมีค่าเท่ากับ 86.00/84.50 และมีดัชนีประสิทธิผล(E.I) เท่ากับ 0.5350
หมายความว่า นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา มีความก้าวหน้าในการมีความรู้ร้อยละ 53.50 สาหรับความรู้และ
ทัศนคติต่อการเลี้ยงหมูป่าคอกเพื่อใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์และอนุรักษ์ก่อนการส่งเสริมนิสิตมีความรู้โดยรวมอยู่ในระดับดี ( =
13.33)และหลังการการส่งเสริมนิสิตมีความรู้อยู่ในระดับดีมาก ( = 16.90)ทัศนคติก่อนการส่งเสริมนิสิตมีทัศนคติโดยรวมอยู่
ในระดับเห็นด้วย( = 2.45)และหลังการส่งเสริมนิสิตมีทัศนคติโดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย( = 2.88) เมื่อเปรียบเทียบ
คะแนนเฉลี่ยของความรู้ และทัศนคติก่อนและหลังการส่งเสริม พบว่า นิสิตมีความรู้หลังการส่งเสริมมากกว่าก่อนการส่งเสริม
อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า คู่มือการจัดกิจกรรมการส่งเสริมการส่งเสริมการเลี้ยงหมูป่าคอกเพื่อใช้เป็นปุ๋ย
อินทรีย์และอนุรักษ์ มีผลทำให้ความรู้ และทัศนคติของนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา