การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานน้ำมันสำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • สุภาพร บุญมาศ

คำสำคัญ:

การส่งเสริม, การอนุรักษ์, พลังงานน้ำมัน, ความรู้, ทัศนคติ, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพการอนุรักษ์พลังงานน้ำมันและการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับ การอนุรักษ์พลังงาน เพื่อ
ศึกษาและเปรียบเทียบความรู้และทัศนคติก่อนและหลังการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานน้ำมัน และศึกษาความพึงพอใจต่อการ
ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานน้ำมันสาหรับนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาวิจัย คือ นิสิตระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จานวน 397 คน และกลุ่มตัวอย่างที่สมัครใจเข้าการส่งเสริม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ
วิจัย ประกอบด้วย คู่มือ แผ่นพับ แบบทดสอบความรู้ แบบวัดทัศนคติ และแบบวัดความพึงพอใจต่อการส่งเสริมการอนุรักษ์
พลังงานน้ำมัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน.และ Paired.ttest..
จากการศึกษา พบว่า นิสิตส่วนใหญ่มีวิธีการเดินทางโดยใช้รถจักรยานยนต์ วิธีอนุรักษ์พลังงานน้ำมันที่นิสิตใช้มากที่สุด
คือ ตรวจเช็คสภาพยางและเติมลมยาง นิสิตส่วนใหญ่มีการรับรู้ข้อมูลการอนุรักษ์พลังงานน้ำมัน จากอินเตอร์เน็ต เมื่อส่งเสริม
การอนุรักษ์พลังงานน้ำมันให้กับนิสิต พบว่า ความรู้ก่อนการส่งเสริมอยู่ในระดับน้อย และหลังการส่งเสริมอยู่ในระดับมากที่สุด
และมีทัศนคติก่อนการส่งเสริมอยู่ในระดับเห็นด้วย และหลังการส่งเสริมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบคะแนน
เฉลี่ยก่อนและหลังการส่งเสริม พบว่า นิสิตมีความรู้และทัศนคติสูงกว่าก่อนการส่งเสริม อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ
.05 และนิสิตมีความพึงพอใจต่อการส่งเสริมอยู่ในระดับมาก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-26

How to Cite

บุญมาศ ส. (2022). การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานน้ำมันสำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 2(1), 50–62. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/651