การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานแก้ปัญหาโรคเบาหวานแบบบูรณาการ จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ธีรพัฒน์ สุทธิประภา

คำสำคัญ:

โรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแนวทางการดาเนินงานแก้ปัญหาโรคเบาหวานแบบบูรณาการ
จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ 1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาแนวทางการดำเนินงานแก้ปัญหา
โรคเบาหวาน กำหนดย่างแบบเจาะจง การสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 60 คน และ 2)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองใช้แนวทางดำเนินงานแก้ปัญหาโรคเบาหวานแบบบูรณาการ ได้แก่บุคลากรที่
ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องในจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 18 อำเภอ ได้แก่ โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และชุมชน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรสัดส่วนประชากร ได้กลุ่ม
ตัวอย่างจำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาแนวทางการดำเนินงานแก้ปัญหาโรคเบาหวาน แบบบูรณา
การการมีส่วนร่วม โดยใช้การประชุมเชิงปฏิบัติการและประยุกต์ใช้เทคนิคกระบวนการกลุ่ม (Group Process)
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมต่อการดำเนินงาน
ผลการศึกษาพบว่า 1) เกิดแนวทางการดำเนินงานแก้ปัญหาโรคเบาหวานประกอบด้วย แนวปฏิบัติ และ
แผนแม่บท (Master plan)ในการดำเนินงาน เกิดเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ในระดับอำเภอ มีการ บทบาทหน้าที่ใน
การดำเนินงานตามแนวปฏิบัติและแผนแม่บท จัดทำเป็นโครงสร้างและกำหนดบทบาทในทุกระดับ
ประกอบด้วย คณะกรรมการ NCD Broad คลินิกบริการ การพัฒนาบุคลากร ข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศ
การแพทย์แผนไทย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการจัดการความรู้ โดยมี System manager เป็นศูนย์กลาง
เกิดโครงสร้างการดำเนินงาน และบทบาทหน้าที่ ที่มีความชัดเจนครอบคลุมผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทุกส่วน 2)
ระดับความคิดเห็นต่อแนวทางการดำเนินงานแก้ปัญหาโรคเบาหวานแบบบูรณาการ จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า
กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และกลุ่มตัวอย่างมีระดับการมีส่วนร่วมต่อแนวทางการ
ดำเนินงานแก้ปัญหาโรคเบาหวาน แบบบูรณาการ จังหวัดกาฬสินธุ์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ผลการ
เปรียบเทียบคุณลักษณะส่วนบุคคลพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มี เพศ อายุ การศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานไม่แตกต่างกัน แต่พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มี ตำแหน่ง และระยะเวลาทางานแตกต่างกันมีความคิดเห็น
ต่อการดำเนินงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนระดับการมีส่วนร่วมพบว่า กลุ่ม
ตัวอย่างที่มีเพศ อายุ การศึกษา และประสบการทางานต่างกัน มีระดับการมีส่วนร่วมต่อแนวทางการ
ดำเนินงานไม่แตกต่างกัน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-27