การส่งเสริมการปลูกสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในชุมชนบ้านเกิ้งใต้ ตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • วันเพ็ญ กันพล

คำสำคัญ:

การส่งเสริม, การปลูกสมุนไพร, ฟ้าทะลายโจร, ความรู้, ทัศนคติ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการปลูกสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในชุมชนบ้านเกิ้งใต้และเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความรู้และทัศนคติต่อการปลูกสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในชุมชนบ้านเกิ้งใต้ ตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือชาวบ้านบ้านเกิ้งใต้ จำนวน 30 คน ได้มาจากการเลือกแบบสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือ แผ่นพับ แบบทดสอบความรู้ และแบบวัดทัศนคติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์หาคุณภาพเครื่องมือ (IOC) และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ paired t-test ผลการศึกษา พบว่าชาวบ้านบ้านเกิ้งใต้มีความรู้การปลูกสมุนไพรฟ้าทะลายโจรก่อนการส่งเสริมอยู่ในระดับต่า (gif.latex?\bar{x} =11.16) และหลังการส่งเสริมชาวบ้านมีความรู้อยู่ในระดับสูง (gif.latex?\bar{x} =18.53) ส่วนทัศนคติก่อน การส่งเสริมชาวบ้านมีทัศนคติอยู่ในระดับไม่เห็นด้วย (gif.latex?\bar{x} =1.35) และหลังการส่งเสริมชาวบ้านมีทัศนคติ อยู่ในระดับเห็นด้วย (gif.latex?\bar{x} =2.73) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของผู้เข้ารับการส่งเสริมก่อนและหลัง การส่งเสริม พบว่า ชาวบ้านบ้านเกิ้งใต้มีความรู้และทัศนคติหลังการส่งเสริมมากกว่าก่อนการส่งเสริม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 แสดงว่าการส่งเสริมการปลูกสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในชุมชนมีผลทำให้ผู้เข้าร่วมการส่งเสริมมีความรู้และทัศนคติของชาวบ้านเพิ่มขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-27

How to Cite

กันพล ว. (2022). การส่งเสริมการปลูกสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในชุมชนบ้านเกิ้งใต้ ตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 2(3), 60–71. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/666