ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติงานดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ดูแล ผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2561

ผู้แต่ง

  • วราวุฒิ ตุลาพัฒน์

คำสำคัญ:

ปัจจัยจูงใจ, การปฏิบัติงานดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ดูแลผู้สูงอายุ, กระบวนการจัดการความรู้การปฏิบัติงานดูแลผู้สูงอายุระยะยาว, แนวทางในการพัฒนากระบวนการในการดูแลระยะยาว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา มีวัตถุประสงค์ เพื่อระบุระดับของปัจจัยแรงจูงใจและการปฏิบัติงาน อีกทั้งปัจจัยแรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติงานดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ดูแลผู้สูงอายุ และเพื่อได้แนวทางในการพัฒนากระบวนการในการดูแลระยะยาว
ด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ดูแลผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยศึกษาในกลุ่มผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 103 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ด้านความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่านและด้านความเที่ยง โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ้าของครอนบาช เท่ากับ 0.87 โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันในการหาความสัมพันธ์ และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบคำนึงถึงตัวแปรอื่นร่วมด้วย ในการเปรียบเทีบผลการปฏิบัติงานดูแลระยะยาวก่อน-หลัง ปรับกระบวนการ
ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ในส่วนของผลการปฏิบัติงานดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ดูแลผู้สูงอายุก่อน และหลังการปรับกระบวนการ อยู่ในระดับมากโดยมีคะแนนเฉลี่ย 128.1±12.97 คิดเป็นร้อยละ 82.65 และ 137.6±7.55
คิดเป็นร้อยละ 88.77 ตามลำดับ จากผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ปัจจัยจูงใจ ที่มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงคือ ปัจจัยด้านการยอมรับนับถือ (r=0.76, 95%CI: 0.61 to 0.88; p-value <0.001) ในส่วนของปัจจัยคํ้าจุน ที่มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงคือ ด้านเงินเดือน/ค่าตอบแทน (r=0.73, 95%CI: 0.68 to 0.86;p-value <0.001) การปกครองบังคับบัญชาหรือ ผู้ดูแลและพี่เลี้ยงระดับตำบล และอำเภอ (r=0.72, 95%CI:0.61 to 0.80; p-value <0.001) และด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน (r=0.71, 95%CI: 0.60 to 0.78;p-value <0.001) ผลการเปรียบเทีบผลการปฏิบัติงานดูแลระยะยาวก่อน-หลัง ปรับกระบวนการ พบว่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 9.3 คะแนน (95%CI: 5.54-13.08, p-value <0.001)ผลการวิจัยสรุปได้ว่า การพัฒนาเพื่อต่อยอดและยั่งยืน จะต้องมีแผนการจัดการที่สามารถบริหารจัดการทั้ง คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ และระบบที่ชัดเจน เพื่อที่จะแก้ไขส่วนที่ประสบผลสำเร็จน้อยที่สุด รวมทั้งมีการติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และควรผลักดันเป็นนโยบายที่ชัดเจน ในการสร้างกระบวนการขับเคลื่อนงาน ภายใต้การพัฒนาและส่งเสริมด้านแรงจูงใจที่เหมาะสม โดยเฉพาะด้านการยอมรับนับถือ ด้านเงินเดือนหรือค่าตอบแทน ด้านการปกครองบังคับบัญชาหรือ ผู้ดูแลและพี่เลี้ยงระดับตำบลและอำเภอ และด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน นอกจากนั้นควรส่งเสริมด้านขวัญและกำลังใจในการทำงานแก่ผู้ดูแลผู้สูงอายุ เนื่องจากขวัญและกำลังใจเป็นปัจจัยในความสำเร็จในการทำงาน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-28

How to Cite

ตุลาพัฒน์ ว. (2022). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติงานดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ดูแล ผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2561. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 3(2), 1–11. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/680