การพัฒนาการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2560

ผู้แต่ง

  • สายัณห์ ใจทาน

คำสำคัญ:

การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2560 ประชากร คือ องค์ภาคีเครือขำยในพื้นที่ระดับอำเภอ เช่น นายอำเภอ โรงพยาบาลชุมชน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล องค์กรปกครองสํวนท้องถิ่น วัด โรงเรียน หน่วยงานเอกชน หัวหน้าส่วนราชการ และภาคประชาสังคม เครื่องมือในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ 1.ข้อมูลทั่วไป 2. ความรู้โรคไข้เลือดออก 3.พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 4. แบบสอบถามถามสมรรถนะแกนนำในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน 5.แบบประเมินอาเภอควบคุมโรคเข็มแข็งแบบยั่งยืน โรคไข้เลือดออกเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ปัญหาหรืออุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดาเนินงานแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก ซึ่งได้จากการสังเกต การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ได้แก่ จานวน ร้อยละ และค่าเฉลี่ยผลการศึกษาพบวำ จากการพัฒนาดังกลำว ทำให้มีการกำหนดกิจกรรมและแนวทางการควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยได้กำหนดผู้มีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชุมชน ตำบล และระดับ คปสอ.จากผลการดำเนินงานพบวำกระบวนการการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อำเภอคาม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2560 ประกอบด้วย 1) การจัดการข้อมูล การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคไข้เลือดออก
2) การสร้างเครือขำยข้อมูลขำวสารโรคไข้เลือดออกในระดับอำเภอ 3) พัฒนาศักยภาพทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็วในระดับอำเภอ/ตำบล 4) จัดตั้งเครือข่ายในการทำงานการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก 5) การเชื่อมโยงเครือข่ายกับเครือข่ายทั้งแนวราบและแนวตั้งในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค ไข้เลือดออก 6) ติดตามประเมินผล การดาเนินงานการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ตามแนวทางการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสานในระดับตำบล จากการดำเนินงานดังกล่าวสํงผลให้อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง ก่อนการดำเนินงานอำเภอคาม่วง มีอัตราป่วย 147.73/100,000 หลังการดำเนินงาน มีอัตราป่วย 9.23/100,000
ประชากร

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-28