การพัฒนาระบบเฝ้าระวังและป้องกันโรควัณโรคปอดในชุมชน ตำบลคำสร้างเที่ยง อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
โรควัณโรคปอดบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการ (Action Research) แบบมีส่วนร่วม เพื่อศึกษาระบบเฝ้าระวังและป้องกันวัณโรคปอดของภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานวัณโรคปอดในชุมชน ตำบลคำสร้างเที่ยง อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีประวัติอยู่ร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรคปอด จำนวน 53 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบทดสอบความรู้ แบบวัดทัศนคติ และแบบวัดการมีส่วนร่วม ระหว่างเดือนกันยายน - พฤศจิกายน 2558 ใช้สถิติเชิงพรรณนา ในการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล โดยนำเสนอ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ใช้สถิติทดสอบ Chi Square test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 และข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis)
ผลการศึกษา: พบว่า ระดับความรู้ พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง 27 คน ร้อยละ 50.9 (ค่าเฉลี่ย 10.36 S.D.= 2.12 ) ทัศนคติอยู่ในระดับปานกลาง 35 คน ร้อยละ 66.0 (ค่าเฉลี่ย 3.57 S.D.= 0.47 ) การมีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง 36 คน ร้อยละ 67.9 (ค่าเฉลี่ย 4.10 S.D.= 0.61) ผลการเปรียบเทียบการ
ป่วยด้วยโรควัณโรคปอด กับ ระดับความรู้ ส่วนใหญ่ไม่เคยปุวย อยู่ในระดับปานกลาง 31 คน ร้อยละ 58.5 มีความสัมพันธ์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (Chi square test = 2.84, df. = 2, p- value =0.242) ผลการเปรียบเทียบการป่วยด้วยโรควัณโรคปอด กับระดับทัศนคติ ส่วนใหญ่ไม่เคยป่วย อยู่ในระดับปานกลาง 34 คน ร้อยละ 64.2 มีความสัมพันธ์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (Chi square test = 0.52, df. = 2, p- value =0.770) ผลการเปรียบเทียบการป่วยด้วยโรควัณโรคปอด กับระดับการมีส่วนร่วม ส่วนใหญ่ไม่เคยป่วย อยู่ในระดับปานกลาง 37 คน ร้อยละ 69.8 มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Chi square test = 6.69, df.= 2, p- value = 0.035) รูปแบบการดำเนินงานเกี่ยวกับวัณโรคปอดในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายได้แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวังและป้องกันโรควัณโรคปอดในชุมชน ดังนี้ การประชาสัมพันธ์ข่าวสาร การคัดกรองกลุ่มเสี่ยง การออกเยี่ยมบ้าน และการประสานงาน จึงควรนำไปช่วยให้การเยี่ยมบ้านและการคัดกรองวัณโรคเป็นไปอย่างครอบคลุมทุกพื้นที่มาก และควรส่งเสริม หรือ กำหนดให้เป็นนโยบายระดับตำบล เพื่อช่วยให้การคัดกรองเป็นไปอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว ซึ่งจะทาให้ลดการแพร่ระบาดของโรควัณโรคปอดในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ