การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความเสี่ยงภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ ในตำบลยอดแกง อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • วิภา ไพนิกพันธ์
  • บุษกร เพิ่มพูล
  • วรกร วิชัยโย

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, ภาวะซึมเศร้า

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Analytic Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเสี่ยงการเกิดภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในตำบลยอดแกง อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 167 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการหาจำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์เชิงอนุมานโดยใช้ค่าสถิติไคสแควร์ (Chi-square test), Odds Ratio และ 95%CI โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษา: พบว่า กลุ่มอายุ 60-70 ปี มีภาวะซึมเศร้าเป็น 0.41 เท่า กับกลุ่มอายุอื่น (OR = 0.41,95%CI = 0.20-0.84, p-value = 0.014) กลุ่มที่มีสถานภาพสมรสมีภาวะซึมเศร้าเป็น 2 เท่า กับสถานภาพอื่น (OR=2.24, 95%CI=1.12-4.54, p-value = 0.023) กลุ่มสถานภาพการเป็นอยู่ที่อาศัยอยู่กับครอบครัวมีภาวะซึมเศร้าเป็น 0.41 เท่า กับกลุ่มสถานภาพการเป็นอยู่อื่น หรือผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่กับครอบครัวไม่มีภาวะซึมเศร้า คิดเป็นร้อยละ 59.0 (OR=0.41, 95%CI=0.20-0.84, p-value=0.013) กลุ่มการมีผู้ดูแลมีภาวะซึมเศร้าเป็น 0.16 เท่า กับกลุ่มไม่มีผู้ดูแล (OR=0.16, 95%CI=0.04-0.66, p-value=0.005) กลุ่มที่สามารถจัดการกับความเครียดได้มีภาวะซึมเศร้าเป็น 0.28 เท่า กับกลุ่มจัดการไม่ได้ หรือผู้สูงอายุที่สามารถจัดการกับความเครียดได้ไม่มีภาวะซึมเศร้า คิดเป็นร้อยละ 72.0 (OR=0.28, 95%CI=0.13-0.58, p-value=0.001) กลุ่มที่มีความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวมีการทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัวระดับต่ำมีภาวะซึมเศร้าเป็น 0.24 เท่า หรือผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมทาร่วมกันในครอบครัวไม่มีภาวะซึมเศร้า คิดเป็นร้อยละ 76.0 ( OR=0.24,95%CI=0.12-0.51, p-value<0.001)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-29

How to Cite

ไพนิกพันธ์ ว., เพิ่มพูล บ., & วิชัยโย ว. (2022). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความเสี่ยงภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ ในตำบลยอดแกง อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 4(1), 11–23. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/695