ระบบสารบรรณ ในยุค 5G
คำสำคัญ:
ระบบสารบรรณ, ยุค 5G, สำนักงานรัฐมนตรี, กระทรวงสาธารณสุขบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ระบบสารบรรณและเสนอแนวทางการพัฒนาระบบสารบรรณในยุค 5G สานักงานรัฐมนตรี กระทรวงสาธารณสุข เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Crosssectional Descriptive Study) ศึกษาประชากรของสานักงานรัฐมนตรี กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเลือกศึกษาแบบเฉพาะเจาะจงประกอบด้วย บุคลากร จำนวน 50 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกทีมเลขานุการ จำนวน 10 คน เก็บข้อมูลเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน 2562 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นต่อการพัฒนาระบบสารบรรณในยุค 5G ค่าความเชื่อมั่น (alpha) =0.83 โดยใช้สถิติแจงแจงความถี่ ร้อยละ (Percentage)ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และสถิติทดสอบไคสแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นด้านข้อมูล Hardware ระบบสารบรรณโดยรวมเห็นด้วยในระดับมากร้อยละ 54.0 (Mean= 11.30, SD=2.35) ความคิดเห็นด้านข้อมูล Software ระบบสารบรรณโดยรวมเห็นด้วยในระดับปานกลาง ร้อยละ 38.0 (Mean= 11.34, SD=1.94) ความคิดเห็นด้านข้อมูล Peopleware ระบบสาร
บรรณโดยรวมเห็นด้วยในระดับปานกลาง ร้อยละ 38.0 (Mean= 11.34, SD=1.94) ความคิดเห็นด้านความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบสารบรรณโดยรวมเห็นด้วยในระดับมาก ร้อยละ 36.0 (Mean= 10.60, SD=2.49) คุณลักษณะส่วนบุคคลด้านอายุรับราชการ มีความสัมพันธ์กับความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบสารบรรณในยุค 5G ในทางบวกระดับน้อยอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p=0.04) คุณลักษณะส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบสารบรรณในยุค 5G ซึ่งได้แก่ เพศ ตาแหน่ง การอบรมด้านระบบสารบรรณผู้ปฏิบัติงานในระบบสารบรรณ และรุ่น Smart Phone อายุตัว อายุการทางานที่สานักงานรัฐมนตรี ระยะเวลาการใช้งานคอมพิวเตอร์/สมาร์ทโฟน ระยะเวลาที่ใช้สมาร์ทโฟน และค่าใช้จ่ายอินเตอร์เน็ต ความคิดเห็นต่อระบบสารบรรณ พบว่า ความคิดเห็นต่อการใช้งานระบบ (Peopleware) มีความสัมพันธ์กับความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบสารบรรณในยุค 5G ในทางบวกระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.048) สาหรับด้านที่ไม่มีความสัมพันธ์ คือความคิดเห็นต่อโปรแกรม (Software) และความคิดเห็นต่ออุปกรณ์ (Hardware) สรุป แนวทางการพัฒนาระบบสารบรรณในยุค 5G ของสานักงานรัฐมนตรี กระทรวงสาธารณสุขที่ศึกษาครั้งนี้ควรจะพัฒนาให้อยู่ในระดับมาก เพื่อสามารถให้บริการผ่านระบบดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดขององค์กร