การศึกษาความรู้ ความตระหนักรู้ ที่มีต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ของประชาชน ตำบลสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • กัลยาณี ภูแสงสั้น
  • จิตยาภรณ์ แก้วบุญเรือง
  • วรกร วิชัยโย

คำสำคัญ:

ความรู้, ความตระหนักรู้, พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง(Cross-Sectional Analytic Study) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรู้ ความตระหนักรู้ ที่มีต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน ตำบลสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มประชากรที่มีอายุ15 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่บ้านหนองกุง หมู่ 13 ตำบลสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 198 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย แบบสอบถามสร้างขึ้นเพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างการป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้ค่าไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนมีพฤติกรรมการป้องกันโรค ไข้เลือดออกอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 13.5 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ (gif.latex?^{^{x^{2}}} = 7.96, p-value = <0.05), ระดับการศึกษา (gif.latex?^{^{x^{2}}} = 4.15, p-value = <0.05),การเข้าร่วมกิจกรรมปูองกันโรค (gif.latex?^{^{x^{2}}} = 21.72, p-value = <0.001) และ หมู่บ้านเคยเกิดโรค(gif.latex?^{^{x^{2}}} = 4.45 , pvalue
= <0.05),ช่วงอายุ (r = 0.190 ; p-value =0.007),จำนวนสมาชิกในครัวเรือน (r = -0.277 ; p-value= 0.001), ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ (r = 0.171 ; p-value =0.016) และความตระหนักรู้ต่อการป้องกันโรคไข้เลือดออก(r = 0.226 ; p-value = 0.001)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-01