การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีเกณฑ์คัดเข้า ได้แก่ อายุระหว่าง 35 -50 ปี ป่วยไม่เกิน 5 ปี มีค่าไตไม่เกินระดับ 3 และยินยอมเข้าร่วม
โครงการ จำนวน 368 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ เครื่องมือในการจัดกิจกรรม คือหลักสูตรอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จังหวัดกาฬสินธุ์ และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่วนเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกสภาวะสุขภาพ แบบสรุปพฤติกรรมการดูแล
สุขภาพที่ปฏิบัติได้ และ แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง กิจกรรมที่สามารถปฏิบัติได้ และความพึงพอใจได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics)
เปรียบเทียบสภาวะสุขภาพ ได้แก่ paired t – test , F – test ด้วยเทคนิค one – way ANOVA เปรียบเทียบรายคู่ โดย Duncan , F – test ด้วยเทคนิค Repeated measurement เปรียบเทียบรายคู่ โดย LSD โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ระดับความดันโลหิต(ค่าบน)และระดับความดันโลหิต(ค่าล่าง) ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ก่อน หลังการอบรมหลักสูตรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 1 เดือน การติดตามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 1 (เดือนที่ 2) การติดตามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 2 (เดือนที่ 3) การติดตามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 3 (เดือนที่ 4) และการติดตามประเมินผลสภาวะสุขภาพหลังการติดตามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 3 (เดือนที่4) 6 เดือน ของค่ายรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p – value เท่ากับ .000 ทุกค่า) โดยที่การติดตามประเมินผลสภาวะสุขภาพหลังการติดตามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 3 (เดือนที่ 4) 6 เดือนมีระดับความดันโลหิต(ค่าบน) ต่ำที่สุด แต่ไม่ต่างจากการติดตามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 1 (เดือนที่ 2) และการติดตามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 2 (เดือนที่ 3) ส่วนการติดตามประเมินผล 6 เดือนมีระดับความดันโลหิต(ค่าล่าง) น้อยที่สุด