การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะ 3-4 โรงพยาบาลโนนสูง

ผู้แต่ง

  • ปุญญิศา วัจฉละอนันท์

คำสำคัญ:

ระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง, ไตวายเรื้อรังระยะ3-4, การจัดการรายกรณี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะที่3-4 โรงพยาบาลโนนสูงและศึกษาผลของการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่พัฒนาขึ้นมาโดยใช้แนวคิดระบบการจัดการรายกรณี (Case Management System )รูปแบบการวิจัย โดยประเมินผลลัพธ์ทางคลินิก และคุณภาพชีวิต แบ่งเป็น 2 ระยะ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561 ช่วงแรก ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560-31 มีนาคม 2561 พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะที่3-4 กลุ่มตัวอย่างคือ สหสาขาวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยโรคไต โรงพยาบาลโนนสูง 14 คน ได้แก่ แพทย์ 2 คน พยาบาลวิชาชีพ 11 คน นักโภชนาการ 1 คนผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะ3-4 จำนวน 30 คน สุ่มแบบจำเพาะเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบ สัมภาษณ์แบบทดสอบความรู้ แบบบันทึกโปรแกรมดึงข้อมูลผู้ป่วยจากระบบ Hosxp วัดผลลัพธ์จากการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่พัฒนาขึ้นใหม่วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย ได้รูปแบบระบบโดยใช้แนวคิดระบบการจัดการรายกรณี (Case Management System) ประกอบด้วย การกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบที่ ชัดเจนของทีมสหสาขาวิชาชีพ แนวทางปฏิบัติดูแลผู้ป่วยโรคไต การพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยโรคไตทันสมัยตัวชี้วัดผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยและระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวมต่อเนื่อง ช่วงที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561 ศึกษาผลของพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง โดย ใช้รูปแบบแนวคิดโดยใช้แนวคิด แนวคิดการจัดการรายกรณี พัฒนาจากช่วงแรก คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงคือ ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่วินิจฉัยรายใหม่ทุกราย จำนวน 415 ราย ที่เข้ารับการรักษาในแผนกคลินิกชลอไตวายเรื้อรัง โรงพยาบาลโนนสูง ให้การดูแลรักษาโดยใช้รูปแบบพัฒนาระบบการดูแล
ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะที่3-4 ระยะเวลา 6 เดือน เก็บข้อมูลเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลองโดยใช้แบบวัดผลลัพธ์ทางคลินิกและคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบค่าที (Paired T-test) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยมีผลลัพธ์ทางคลินิกได้แก่ ค่าการกรองของไต ค่าความดันโลหิต การทำงานของไต และคุณภาพชีวิตดีขึ้นกว่าหลังการ ทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ข้อเสนอแนะการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นข้อมูลเชิงประจักษ์ของการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังนี้ส่งผลลัพธ์ที่ดีทางคลินิกและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-04