การพัฒนารูปแบบการกดมดลูกส่วนล่างร่วมกับการใช้นวัตกรรมเตรียม-เตือนการนวดมดลูกต่อ คุณภาพการเฝ้าระวังภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกโรงพยาบาลชานุมานจังหวัด อำนาจเจริญ

ผู้แต่ง

  • อรทัย บัวคำ

คำสำคัญ:

การกดมดลูกส่วนล่าง, เตรียม-เตือนการนวดมดลูก, ตกเลือดหลังคลอดระยะแรก

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองในกลุ่มมารดาที่อายุครรภ์ครบกำหนดคลอดคำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรแบบง่ายสำหรับค่าเฉลี่ยแบบการทดสอบทางเดียวได้ขนาดตัวอย่าง 60 รายแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 30 รายและกลุ่มทดลอง 30 รายสุ่มตัวอย่างตามกรอบเวลา (Time Frame) โดยกลุ่มทดลองได้รับการดูแลด้วยรูปแบบการกดมดลูกส่วนล่างร่วมกับการใช้นวัตกรรมเตรียม-เตือนการนวดมดลูกส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกข้อมูลทั่วไปแบบบันทึกการเฝ้าระวังภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกแบบบันทึกการนวดมดลูกในระยะสองชั่วโมงแรกหลังคลอดแบบประเมินความพึงพอใจผู้ให้บริการและผู้รับบริการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานได้แก่ Independent t-test ผลการศึกษา: ภายหลังการใช้รูปแบบการกดมดลูกส่วนล่างร่วมกับการใช้นวัตกรรมเตรียม-เตือนการนวดมดลูก1) กลุ่มทดลองได้รับการนวดมดลูกครบ 6 ครั้ง ในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอดร้อยละ 83.33 ส่งผล
ให้มารดาหลังคลอดมดลูกหดรัดตัวดีทุกคนไม่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการนวดมดลูกครบ 6 ครั้งในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอดเพียงร้อยละ 23.33 มารดาหลังคลอดมีภาวะมดลูกหดตัวไม่ดี 1 รายและมีภาวะตกเลือดหลังคลอด 1 ราย โดย 2) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยปริมาณการสูญเสียเลือดในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอดน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ซึ่งทำให้3) ผู้ให้บริการมีความพึงพอใจร้อยละ 83.33 ส่วนผู้รับบริการมีพึงพอใจร้อยละ 100 สรุป: รูปแบบการกดมดลูกส่วนล่างร่วมกับนวัตกรรมเตรียม-เตือนการนวดมดลูกสามารถนำมาใช้เป็นระบบเฝ้าระวังภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากช่วยให้พยาบาลสามารถกดมดลูกเพื่อลดปริมาณการสูญเสียเลือดให้น้อยลง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-04