ประสิทธิผลของการพัฒนาแนวทางการเข้าถึงบริการในคลินิกโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังโดย ใช้กระบวนการเสริมพลังในเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ

ผู้แต่ง

  • ภรณพรรษสร พุฒวิชัยดิษฐ์
  • ยุทธกรานต์ ชินโสตร

คำสำคัญ:

การเข้าถึงบริการ1, กระบวนการเสริมพลัง2, เครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ3

บทคัดย่อ

เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วมกับการนำแนวคิดกระบวนการเสริมพลังของ Gibson (Gibson, 1995) มาปรับใช้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างเครือข่ายโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังในหน่วยบริการปฐมภูมิ 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการเข้าถึงบริการในคลินิกโดยใช้กระบวนการเสริมพลัง 3) เปรียบเทียบผลก่อนและหลังการนำแนวทางไปปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยเครือข่าย 120 คน และผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรัง 100 คน ผลการวิจัยพบว่าเครือข่ายประกอบด้วย ทีมสุขภาพ ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรัง ได้แนวทางคือเครือข่ายมีบทบาทหน้าที่ในการค้นหาผู้ป่วย ให้ความรู้เรื่องโรคและการรักษา ติดตามการใช้ยา/การตรวจตามนัด ประชาสัมพันธ์คลินิก พาไปตรวจพร้อมกัน ทำฐานข้อมูลผู้ป่วยเชื่อมโยงแม่ข่าย โดยบูรณาการร่วมกับการดูแลโรคเรื้อรังอื่นๆ ในพื้นที่ ส่วนการพัฒนาแนวทางของโรงพยาบาล มี 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการประชาสัมพันธ์ 2) ด้านระบบบริการ 3) ด้านการมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่าย 4) ด้านบุคลากร/เครื่องมือ/สถานที่ หลังการวิจัยพบว่ามีผู้ป่วยมารักษาในคลินิกเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.14 คนและร้อยละ 45.93 ครั้ง เมื่อเปรียบเทียบด้วยสถิติ Paired t-test พบว่าจำนวนครั้งเฉลี่ยของผู้ป่วยที่มี ERVisit และการขาดนัดลดลง ผู้ป่วยมีค่าสมรรถภาพปอดและอัตราการใช้ยาถูกต้องสูงขึ้น โรงพยาบาลเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉินลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มีต่อการบริการในคลินิกโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังหลังการนำแนวทางไปปฏิบัติอยู่ในระดับมากแสดงให้เห็นว่าการสร้างและเสริมพลังเครือข่ายในหน่วยบริการปฐมภูมิ ทำให้เกิดพลังความร่วมมือในชุมชนและเป็นเจ้าของปัญหา จนสามารถกำหนดแนวทางในการปฏิบัติได้จริงและยั่งยืนโดยการบูรณาการการทำงาน ร่วมกับการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆ ในพื้นที่ ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี ผลวิจัยนี้ยังสามารถเป็นต้นแบบในการแก้ปัญหาผู้ป่วยที่ขาดนัดหรือไม่มารักษาในคลินิกในกลุ่มโรคอื่นๆ ทั้งในและนอกโรงพยาบาลต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-04