การพัฒนากระบวนการให้ความรู้ผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 1-3 และผู้ดูแล ในการป้องกันการเกิดโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • วราลี วงศ์ศรีชา

คำสำคัญ:

โรคไตเรื้อรัง, ผู้ดูแล, การป้องกันโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย, กระบวนการป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการพัฒนากระบวนการให้ความรู้ผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 1-3 และผู้ดูแล ในการป้องกันโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย กลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่มเปรียบเทียบก่อนและหลัง ประชากร/กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 1-3 จำนวน 30 คน 2. ผู้ดูแล
จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้มี 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยและผู้ดูแล ส่วนที่ 2 เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ชุดกระบวนการให้ความรู้ ผู้ป่วยและผู้ดูแล การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลทั่วไปวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิง
พรรณนา แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน,พฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยและการดูแลของผู้ดูแล ใช้ค่าเฉลี่ย เปรียบเทียบก่อน - หลังการศึกษาด้วยสถิติ Dependent pair t-test และค่าการทำงานของไตในผู้ป่วยไตเรื้อรัง ใช้ค่าเฉลี่ยในการเปรียบเทียบผล ก่อนการศึกษา ระหว่างการศึกษา และหลังการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ในด้านความรู้ คะแนนความรู้ในผู้ป่วยและผู้ดูแลกลุ่มตัวอย่าง ภาพรวมหลังการศึกษา มีค่าสถิติสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ(P value<0.05) ในด้านพฤติกรรมสุขภาพ คะแนนพฤติกรรมในผู้ป่วยและผู้ดูแล ภาพรวมทั้ง 3 ด้าน (อาหาร,ออกกำลังกาย,การรักษาและการใช้ยา) มีค่าคะแนนด้านพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยและพฤติกรรมการดูแลจากผู้ดูแล มีค่าสถิติสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ(P value<0.05) เช่นกัน และในด้านดัชนีชี้วัดสุขภาพ ค่าการทำงานของไตในผู้ป่วย หลังการศึกษาพบว่า ก่อนการศึกษามีค่าเฉลี่ยการทำงานของไต Serum Creatinine/eGFR 1.21/48.3 ระหว่างการศึกษาเพิ่มขึ้นเป็น 1.14/51.4 และหลังการศึกษามีค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็น 1.07/55.8

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-04