การสร้างและพัฒนากลไกการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมสำหรับองค์กรชุมชน ในการจัดการปัญหา การบริโภคยาสูบ ตำบลหนองไผ่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • วิโรจน์ นรชาญ

คำสำคัญ:

การสร้างและพัฒนา, กลไกการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม, องค์กรชุมชน, การบริโภคยาสูบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามุ่งสร้างและพัฒนากลไกการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมสำหรับองค์กรชุมชนในการจัดการปัญหาการบริโภคยาสูบ ตำบลหนองไผ่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ โดยระยะที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาการ
บริโภคยาสูบ และแนวคิด ทฤษฎีที่เหมาะสมในการพัฒนากลไกการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ระยะที่ 2 เพื่อสร้างและพัฒนากลไกการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาการบริโภคยาสูบ และระยะที่ 3 เพื่อศึกษาผลของการสรา้ งและพัฒนากลไกการเรยี นรู้แบบมีส่วนร่วม ระยะเวลาในการวิจัย 1 ปี โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง รวมทั้งหมด 257 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ 5 ชุดและแบบสังเกต 1 ชุด ผลการวิจัย พบว่าองค์กรชุมชนกลุ่มตัวอย่างทุกคนรับรู้ประเด็นผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ยาสูบต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 18 ปี และร้อยละ 71.21 รับรู้ว่าผู้ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 18 ปี ตามพระราชบัญญัติ
ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 แนวคิดและทฤษฎีที่ในการพัฒนาการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ได้แก่ 1) กลไกลการมีส่วนร่วมของศูนย์พัฒนาทรัพยากรการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2) ระดับการมีส่วนร่วมของสมาคมสาธารณสุขอเมริกา 3) วงจร Deming cycle 4) หลักการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ และ 5)หลักการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน วิธีการสร้างและพัฒนากลไกการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1)การคัดเลือกองค์กรชุมชน 2) การพัฒนาศักยภาพองค์กรชุมชน 3) การริเริ่มพัฒนา 4)การวางแผนพัฒนา 5) การดำเนินการพัฒนา และ 6) การประเมินผลการพัฒนา ผลของการสร้างและกลไกการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมพบว่าองค์กรชุมชนมีส่วนร่วมอยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 1.35 ร้านค้าที่จำหน่ายบุหรี่มีการแบ่งขายบุหรี่เป็นมวน ลดลงร้อยละ 79.41 การโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขายข้อความ “ที่นี่จำหน่ายบุหรี่” ลดลงร้อยละ 41.17 ผู้สูบบุหรี่ที่มีปริมาณการสูบเกิน 20 มวนต่อวัน ลดลงจากร้อยละ 6.28 เป็นร้อยละ 1.87 ผู้สูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะลดลงจากร้อยละ 100 เหลือร้อยละ 41.74 ระยะเวลาที่สูบมวนแรกหลังตื่นนอน ภายใน 5 นาที ลดลงจากร้อยละ 9.17 เหลือร้อยละ 2.21 ค่าใช้จ่ายในการบริโภคมากกว่า 800 บาทต่อเดือนลดลงจากร้อยละ 6.11 เหลือร้อยละ 1.70 ซื้อบุหรี่กับคนขายที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีลดลงจากร้อยละ 67.40 เหลือร้อยละ 52.98 และมีผู้สูบบุหรี่สามารถเลิกบุหรี่ได้ 6 เดือน 2 คน โดยเป็นผลจากการสร้างและพัฒนากลไกการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมสำหรับองค์กรชุมชนในการจัดการปัญหาการบริโภคยาสูบที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานของการวิจัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-04