ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมฆ่าตัวตายของประชาชนในจังหวัดพิจิตร

ผู้แต่ง

  • สุธาทิพย์ จุลบุตร สานักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร
  • มถนภรณ์ เคหะลูน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชตะพานหิน

คำสำคัญ:

พฤติกรรมฆ่าตัวตาย, พยายามฆ่าตัวตาย, ฆ่าตัวตายสำเร็จ, พิจิตร, ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงสารวจมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมฆ่าตัวตายของประชาชนในจังหวัดพิจิตร วิธีการศึกษา การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาแบบศึกษาย้อนหลัง ในรูปแบบ case control study โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานการเฝ้าระวังการพยายามทำร้ายตนเองกรณีเสียชีวิตและกรณีไม่เสียชีวิต กรมสุขภาพจิต(รง 506S) ของประชาชนที่มีพฤติกรรมฆ่าตัวตายในจังหวัดพิจิตร จำนวน 147 คน โดยกลุ่มที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ จำนวน 102 ราย และกลุ่มพยายามฆ่าตัวตาย 45 ราย ช่วงเวลาที่ศึกษาคือ ปี พ.ศ. 2558-2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา chi-squared test, odds ratio และ logistic regression
     ผลการศึกษา พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมฆ่าตัวตายสำเร็จ ได้แก่ เพศชายมากกว่าเพศหญิง 3 เท่า (OR=3.39,p<0.01 78% และ 51.1% ตามลำดับ) มีประวัติเคยทำร้ายตนเองมาก่อน (OR=7.75, p<0.01) การมีสัญญาณบ่งบอกว่าจะทำร้ายตนเอง (OR=2.01, p<0.01) และตั้งใจทำร้ายตนเองจนเสียชีวิต (OR=8.82, p<0.01) การมีโรคประจำตัวทางกาย (OR=5.98, p<0.01) ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง(OR=2.46, p<0.01), เบาหวาน(OR= 1.66 , p<0.01), ไขมันเลือดสูง(OR=1.87, p<0.01), พิการตา หู แขน ขา (OR=4.53,p<0.01), , การมีโรคประจำตัวทางจิตเวช (OR=2.53, p<0.01) ได้แก่ ปัญหาติดแอลกอฮอล์(OR=3.66, p<0.05) และการมีปัญหาความสัมพันธ์กับบุคคลใกล้ชิด (OR=19.27, p<0.01) ปัญหาการใช้สุรา(OR=13.272, p<0.01) และปัญหาเศรษฐกิจ (OR=1.031, p<0.01)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-06