การศึกษาวิจัยการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรณีศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพจากการประกอบกิจการ ยางพาราจังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • มารุต นามบุตร กลุ่มงานอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

บทคัดย่อ

     การศึกษากระทบต่อสุขภาพจากการประกอบกิจการยางพาราจังหวัดอุดรธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพจากการประกอบกิจการยางพารา เพื่อศึกษาข้อดี ข้อด้อย ข้อจำกัด ปัญหาอุปสรรค ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของการจัดทารายงานการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA) สาหรับการประกอบกิจการยางพารา โดยมีขอบเขตการศึกษาในเกษตรกรผู้ปลูกและทาสวนยางพาราในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี และประชาชนผู้ได้รับผลกระทบที่อยู่รอบแหล่งรับซื้อยางพารา ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี 20 อำเภอ จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 396 ตัวอย่าง กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกและทำสวนยางพาราและประชาชนผู้ได้รับผลกระทบที่อยู่รอบแหล่งรับซื้อยางพารา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

     ผลการศึกษา ผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานกรีดยางและผู้ปฏิบัติงานในโรงงานหรือลานรับซื้อยางพารา พบว่าป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคผื่นคันตามตัว โรคระบบทางเดินหายใจ มีพฤติกรรมเสี่ยงในขณะทางาน ได้แก่ ดื่มสุราและของมึนเมา เครื่องดื่มชูกาลัง กาแฟ สูบบุหรี่ มีอาการเจ็บป่วยและปัญหาสุขภาพ ได้แก่ อาการปวดท้อง ปวดเอว ปวดเข่า ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อตามร่างกาย มีอาการปวดศีรษะ มีอาการวิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการน้ำตาไหล ตาแดง เจ็บตา และมีอาการข้อเคล็ด ข้อแพลง ข้อเอ็นอักเสบ ข้อมือ อันเกิดจากการยศาสตร์การทำงาน และการใช้สารเคมี รวมถึงเกิดภูมิแพ้จากสภาพแวดล้อมในการทำงาน สารเคมีที่ใช้ในการทำยางถ้วยมากที่สุดคือ กรดฟอร์มิค อุปกรณ์ต่าง ๆที่ใช้ป้องกันตัวเองในการกรีดยาง ได้แก่ ผ้าปิดจมูก แต่มีการใช้น้อย ใช้ถุงมือยาง ใช้รองเท้าบูธ ชุดป้องกันสารเคมีแต่ใช้ไม่ครบทุกอย่าง และใช้บางครั้งคราว ผู้ปฏิบัติงานมักเกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเนื่องจากความสูงของหน้ายางที่กรีด อยู่ในระดับเอวมาก การเกิดอุบัติเหตุในการทำงานมักเป็นอุบัติเหตุเล็กน้อย รอยฟกช้าเคล็ดขัดยอกกับอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย, เกิดแผลกับอวัยวะต่าง ๆ และเกิดอาการบาดเจ็บ ระคายเคืองต่อดวงตา พบว่ามีการบาดเจ็บมากที่สุด คือ มือและข้อมือ ผลกระทบที่มีต่อสุขภาพทางจิต ด้านบวก คือเห็นว่าเป็นอาชีพที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ สร้างรายได้ ด้านลบ ความเครียดจากราคาน้ำยาง ความเหนื่อยล้าจากการทางาน กังวลต่อสุขภาพ

     ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย การขนส่งยางพารา การตกหล่นของขี้ยางหรือมีน้ำยางรั่วไหลจากรถบรรทุก รับความเดือนร้อนจากการขนส่งยางพารา เหตรำคาญกลิ่นเหม็น ปัญหาการจัดการกลิ่นเหม็นจากยางพารา และสัตว์ แมลงพาหะนำโรครวมถึงปัญหาจากลานรวบรวมยางพารา ปัญหาน้ำเสีย ปัญหาจากการระบายและรวบรวมน้าเสีย มีปัญหาระบบบาบัดน้ำเสียไม่มีจุดรวบรวมขยะ ไม่มีการคัดแยกขยะ กรณีที่การขนส่งยางพาราได้สร้างปัญหาแก่ประชาชน 2 ด้าน คือ ปัญหาเหตุรำคาญ และปัญหาทางด้านสุขภาพ โดยการศึกษา พบว่า ปัญหาเหตุราคาญที่กลุ่มผู้ตัวอย่างได้รับสูงที่สุด 3 อันดับคือ กลิ่นอันไม่พึงประสงค์ ซึ่งจะกระทบเป็นประจำ ความสกปรกจากการรั่วไหลของน้ำยาง ขี้ยาง ปัญหาการจราจร น้ำชะยางกระเซ็นใส่ยานพาหนะ มีกลิ่นเหม็น ผลกระทบต่อสุขภาพที่ได้รับ ได้แก่ ระคายเคืองทางเดินหายใจ ปวดศีรษะ และ วิงเวียน คลื่นไส้ กลุ่มตัวอย่างเคยประสบอุบัติเหตุจากการขนส่งยางพารานอกจากนี้ในด้านผลกระทบอื่นๆ ได้แก่ การจัดการเหตุราคาญจากกลิ่นเหม็นของน้าชะยางจากการขนส่งยางก้อนถ้วยการจัดการกลิ่นเหม็นจากปล่องของโรงงานผลิตยางพาราในพื้นที่ ควรมีการดำเนินการอย่างชัดเชนเป็นรูปธรรมและเห็นผล จะช่วยลดผลกระทบให้กับประชาชนและเกษตรกรต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-06