การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้เด็งกี่จังหวัดอุดรธานี ปี 2561

ผู้แต่ง

  • สุรเชษฐ์ ดวงตาผา นักวิชาการสาธารณสุขชานาญการ สานักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

การประเมินระบบเฝ้าระวัง, โรคไข้เลือดออก, โรคไข้เด็งกี่, จังหวัดอุดรธานี

บทคัดย่อ

     วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ โดยการค้นผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยโรคไข้เด็งกี่และโรคคล้ายคลึงมาเพื่อค้นหาผู้ป่วยตามนิยามที่กำหนด ในผู้ป่วยที่มารับบริการที่โรงพยาบาลจำนวน 4 แห่งที่เป็นตัวแทนและสะท้อนความหลากหลาย และการศึกษาคุณลักษณะเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง

     ผลการศึกษา: พบว่าคุณลักษณะเชิงปริมาณมีค่าความไวคิดเป็นร้อยละ 18.98 (95%CI, 14.98 - 23.74) ค่าพยากรณ์ผลบวกร้อยละ 22.66 (95%CI=17.63- 28.21) ความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลร้อยละ 100 ข้อมูลส่วนใหญ่มีความถูกต้องของข้อมูล ที่อยู่,เพศ, อายุ เป็นร้อยละ 96.00, 58.20และ 33.76 ตามลำดับ ระบบมีความทันเวลาในการรายงานโรคภายใน 1,3 และ 7 วัน ความทันเวลาคิดเป็นร้อยละ 15.42 , 95.38 และ 100 ตามลำดับ (median 2 วัน min 1 วัน max 5 วัน ) คุณลักษณะเชิงคุณภาพมีปัญหาด้าน การติดตามและใช้ประโยชน์โดยใช้ในการรายงานและติดตามสถานการณ์ของผู้ป่วยและโรค มีเพียงเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการที่ไม่เคยใช้ระบบ รง. 506 (ร้อยละ 7.14)

     สรุปและวิจารณ์: ระบบเฝ้าระวังไข้เด็งกี่มีความไวร้อยละ 18.98 ซึ่งอยู่ในระดับต่ำ ค่าพยากรณ์บวก ร้อยละ 22.66 พบว่าอยู่ในระดับต่ำ พยาบาลและเจ้าหน้าที่คัดกรองไม่ได้ลงอาการจากการซักประวัติอย่างละเอียดทำให้เจ้าหน้าที่ระบาดวิทยาไม่ได้จัดทำรายงานโรค โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยเด็ก 0-4 ปี ซึ่งการวินิจฉัยทำได้ยาก ในส่วนของความเป็นตัวแทน เป็นตัวแทนได้ในตัวแปร เพศ กลุ่มอายุ และช่วงเวลาในการวินิจฉัยโรคไข้เด็งกี่ ส่วนตัวแปรที่อยู่ของผู้ป่วย ไม่สามารถเป็นตัวแทนได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-06