ผลการใช้ชุมชนเป็นฐานในการช่วยเลิกการเสพติดยาสูบจังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ศัศวัต ไพรพงษ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การเลิกการเสพติดยาสูบ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นกำรวิจัยเชิงปฏิบัติกำรมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้ชุมชนเป็นฐำนในการช่วยเลิกเสพติดยาสูบ กลุ่มตัวอย่ำงได้แก่ผู้สูบบุหรี่ในชุมชน จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ กระบวนการกลุ่ม แบบสำรวจ ทะเบียนรายงาน วิเครำะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ไคสแควส์

     ผลกำรวิจัยทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการควบคุมปัญหาการสูบบุหรี่ ประกอบด้วย การกำหนดนโยบายและมาตรการชุมชนในการควบคุมยาสูบ การลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ในชุมชน และเกิดบุคคลต้นแบบ

     การสร้างสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการสูบบุหรี่ การจัดสถานที่สาธารณะปลอดบุหรี่ การจัดสถานที่ปลอดบุหรี่ตามกฎหมำย สร้างการรับรู้และความตระหนักในพิษภัยของบุหรี่และควันบุหรี่ และทำให้เกิดเป็นนวัตกรรมการควบคุมยาสูบและการช่วยเลิกบุหรี่ในชุมชน เป็นการกระตุ้นให้ชุมชนค้นหาวิธีกำรที่สร้างสรรค์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหาวิธีการช่วยเลิกบุหรี่ที่มีประสิทธิภาพ ผลการดำเนินงานพบว่า การใช้ชุมชนเป็นฐานมีโอกาสเลิกบุหรี่เป็น 4.4 เท่าของการเลิกด้วยตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95%CI =2.138562 to 9.640343, p-value <0.001)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-06

How to Cite

ไพรพงษ์ ศ. (2022). ผลการใช้ชุมชนเป็นฐานในการช่วยเลิกการเสพติดยาสูบจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 5(1), 95–102. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/748