การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานเครือข่ายโรงพยาบาลศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • คมเนตร สกุลธนะศักดิ์ พยาบาลผู้จัดการรายกรณีเบาหวานความดันโลหิตสูง โรงพยบาลศรีสะเกษ
  • พิชามณ กุลธีรวัฒน์ พยาบาลผู้จัดการรายกรณีเบาหวานความดันโลหิตสูง โรงพยบาลศรีสะเกษ
  • นพพล บัวสี อายุรแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ
  • มะลิ สุปัตติ นักวิชาการสาธารณสุขชานาญการ สานักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

ระบบ, เบาหวาน, ระดับน้ำตาลสะสม

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (Research and Development) เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานโดยศึกษาระหว่างตุลาคม 2558 - กันยายน 2561 กลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือ สหวิชาชีพ จำนวน 46 คน ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 676 คนและ ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ จำนวน 62 คน มีขั้นตอนการพัฒนาคือ วิเคราะห์สถานการณ์ ปฏิบัติการและประเมินผล โดยใช้กรอบแนวคิด P-A-O-R ( P = Planning, A = Acting, O= Observing, R =Reflecting ) และ The Chronic Care Model

     ผลการศึกษา พบว่า สถานการณ์ก่อนการพัฒนาระบบ เครือข่ายโรงพยาบาลศรีสะเกษ ระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานมีความซับซ้อน การเข้าถึงบริการยาก เมื่อศึกษาข้อมูลสถานการณ์ปัจจัยทานายระดับ HbA1C ของผู้ป่วยเบาหวาน ตัวแปรสามารถเข้าสู่สมการทานายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (ค่า Sig. of F เท่ากับ 34.21) ค่าสหสัมพันธ์พหุ (R) มีค่าเท่ากับ 0.498 และค่าสัมประสิทธิ์ การพยากรณ์ (R2) มีค่าเท่ากับ 0.248 นำมาเขียนเป็นสมการในรูปคะแนนดิบ คือ HbA1C = -.353+0.006 X1+0.017 X2 +0.155 X3 + 0.291X4 +0.003 X5 - 0.003X6 นิยาม X1 หมายถึง FBS X2 หมายถึง Hemoglobin X3 หมายถึง UA Albumin X4 หมายถึง Hypoglycemia X5 หมายถึง LDLCholesterol X6 หมายถึง eGFR ส่วนคะแนนเฉลี่ยการจัดการตนเองของผู้ป่วย เบาหวานสูงกว่าหลังการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P value . 000 และค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของทีมสหวิชาชีพต่อการพัฒนาสูงขึ้นอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ P value . 000 ร้อยละผู้ป่วย DM ควบคุม HbA1C ได้ดีร้อยละ 34.91 ผู้ป่วย DM เข้าสู่ระบบการรักษาร้อยละ 71.49 อัตราการนอนโรงพยาบาลด้วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนระยะเฉียบพลันร้อยละ 4.24 การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานเครือข่ายโรงพยาบาลศรีสะเกษ จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ Good controlled เพิ่มขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-15