ผลกระทบจากการตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่น อาเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • ไพวัลย์ นรสิงห์

คำสำคัญ:

สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น

บทคัดย่อ

     วิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methodology approaches) เพื่อศึกษาผลกระทบจากการตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างคือสตรีวัยรุ่นตั้งครรภ์ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ในอำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี คลอดระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2561 – 30 กันยายน 2562 จำนวน 14 ราย เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามมีความเชื่อมั่น
(Cronbach's Alpha Coefficient) ของแบบสอบถามเท่ากับ 0.85 รวมถึงเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง(Semi- Structured Interview)ร่วมด้วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ใช้ Chi-square และข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis)

     ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างสตรีวัยรุ่นตั้งครรภ์ อยู่ในช่วงอายุ15-20 ปี จบขั้นสูงสุดในระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 50 ส่วนใหญ่ไม่ได้ประกอบอาชีพ คิดเป็นร้อยละ 42.9 แหล่งที่มาของรายได้ที่ใช้จ่ายในขณะตั้งครรภ์มาจากแฟน/คู่รัก คิดเป็นร้อยละ 57.1 ทุกรายไม่มีโรคประจำตัวขณะตั้งครรภ์ ตั้งครรภ์
ครั้งที่ 1 ทุกรายไม่เคยแท้งบุตร ก่อนตั้งครรภ์อาศัยอยู่กับพ่อและแม่ตนเองมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 42.9 ได้รับความรู้ด้านเพศศึกษาก่อนตั้งครรภ์ คิดเป็นร้อยละ 92.9 ก่อนการตั้งครรภ์ใช้วิธีคุมกำเนิดโดยยาเม็ดคุมกำเนิดเพียงอย่างเดียว และใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดสลับกับยาฉีดคุมกำเนิด ไม่ตั้งใจตั้งครรภ์ คิดเป็นร้อยละ71.4 ในกลุ่มสตรีวัยรุ่นตั้งครรภ์ที่ไม่ตั้งใจตั้งครรภ์มีสาเหตุจากการคุมก่าเนิดไม่ถูกวิธี เช่น กินยาคุมไม่ต่อเนื่อง ลืมกินบ่อยเริ่มกินแผงใหม่เมื่อแฟนกลับมาอยู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 40 และคาดไม่ถึงว่าจะตั้งครรภ์ คิดเป็นร้อยละ 40 รับรู้ว่าตั้งครรภ์เมื่ออายุครรภ์ได้ 2 เดือน คิดเป็นร้อยละ 71.4 ฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ 2 เดือน คิดเป็นร้อยละ 42.9

     สตรีวัยรุ่นตั้งครรภ์ส่วนมากมีการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 57.1 ผลกระทบด้านจิตใจระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 71.4 คลอดเมื่ออายุครรภ์38 สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 35.7 คลอดปกติคิดเป็นร้อยละ 92.9 ทุกรายไม่มีความผิดปกติระหว่างการคลอดบุตรหรือระยะหลังคลอดบุตร น้ำหนักทารก
แรกเกิดอยู่ระหว่าง 2,500 – 2,999 คิดเป็นร้อยละ 35.7 และระหว่าง 3,000-3,499 กรัม คิดเป็นร้อยละ 35.7 แรกเกิดปกติ แข็งแรงดี คิดเป็นร้อยละ92.9

     ผลการศึกษาผลกระทบจากการตั้งครรภ์โดยการสัมภาษณ์ในสตรีวัยรุ่น ด้านสุขภาพ สังคมและเศรษฐกิจครั้งนี้ พบว่าเมื่อรับรู้ว่าตั้งครรภ์จะมีความเครียด วิตกกังวล และหาทางออกแตกต่างกันไป การถูกกดดันหลายๆด้านจึงตัดสินใจออกจากโรงเรียนกลางคัน จำนวน 6 ราย ท่าให้ไม่ได้ประกอบอาชีพ ไม่มีรายได้ และหลังคลอดบุตรต้องพึ่งพิงบิดามารดาในเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงช่วยเลี้ยงดูบุตร จำนวน 6 ราย โดย 2 รายที่ฝ่ายชายเลิกราไม่ร่วมรับผิดชอบ ภาระค่าใช้จ่ายจึงเป็นของพ่อแม่ทั้งหมด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-15

How to Cite

นรสิงห์ ไ. (2022). ผลกระทบจากการตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่น อาเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 5(2), 38–47. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/795