การพัฒนารูปแบบแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย Alcohol Withdrawal ตึกผู้ป่วยในชาย โรงพยาบาลโกสุมพิสัย

ผู้แต่ง

  • นิภาภัคร์ คงเกียรติพันธุ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลโกสุมพิสัย

คำสำคัญ:

ภาวะถอนพิษสุรา, ภาวะขาดสุรา, Alcohol withdrawal

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย Alcohol Withdrawal ตึกผู้ป่วยในชาย โรงพยาบาลโกสุมพิสัย วิธีการดำเนินการวิจัย เป็นการศึกษาเชิงพัฒนา (Developmental study) ดำเนินการศึกษา ระหว่างเดือนตุลาคม ถึงเดือน ธันวาคม พ.ศ 2560 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.ประชากรผู้ทดลองใช้รูปแบบแนวปฏิบัติ คือ พยาบาลวิชาชีพตึกผู้ป่วยในชาย โรงพยาบาลโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 11 คน 2.กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่มีภาวะ Alcohol withdrawal ที่ได้รับการดูแลตามรูปแบบแนวปฏิบัติ และเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะ Alcohol withdrawal ที่นอนพักรักษาในตึกผู้ป่วยในชาย ระหว่างเดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 จำนวน 15 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย แบบสอบถาม รูปแบบแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย Alcohol Withdrawal การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างผู้ทดลองใช้แนวปฏิบัติ และข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ร้อยละ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพการใช้รูปแบบแนวทางปฏิบัติ วิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

     ผลการวิจัยพบว่า ผลจากการพัฒนารูปแบบแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย Alcohol Withdrawal ได้ แนวทางการดูแลผู้ป่วยขึ้นมาใหม่ คือ care map ในการดูแลและการควบคุมอาการถอนพิษสุราให้สงบภายในเวลาที่กำหนด 5 วัน ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (Content validity index) CVI เท่ากับ.80 และแบบประเมินระดับความรุนแรงของภาวะถอนพิษสุรา (Alcohol withdrawal scale หรือ AWS) ผลจากการพัฒนารูปแบบแนวปฏิบัติทำให้จัดระดับความรุนแรงภาวะถอนพิษสุรา และการบริหารยาได้สอดคล้องกับระดับความรุนแรงของผู้ป่วยทำให้พยาบาลมีความรู้ ความมั่นใจในการบริหารยาเพิ่มมากขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-15