การพัฒนารูปแบบการคัดกรองภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตา
คำสำคัญ:
ภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตาบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและศึกษาผลการใช้รูปแบบการคัดกรองภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตา โดยใช้แนวคิดของ Kemmis&McTaggart (1988) ดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน 2) การปฏิบัติตามแผน 3) การสังเกตการณ์ และ4)สะท้อนกลับกระบวนการ,ผลการเปลี่ยนแปลงและนาไปปรับแผนการปฏิบัติงาน และใช้แนวคิด Chronic care model(Wagner,1999) กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานในอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ระยะเวลาในการศึกษา เดือนมกราคม-ธันวาคม 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย1) แบบสนทนากลุ่ม 2)แบบบันทึกตรวจคัดกรองจอประสาทตา 3)เครื่องถ่ายภาพจอประสาทตา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงบรรยาย ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการคัดกรองภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตาซึ่งพัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบดังนี้ 1)การจัดระบบบริการสุขภาพ ปรับการให้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล 2) สนับสนุนการจัดการตนเอง จัดกิจกรรมให้ความรู้รายกลุ่มและรายบุคคล 3) สนับสนุนการตัดสินใจ จัดทำแนวทางปฏิบัติการตรวจคัดกรองและส่งต่อรายผิดปกติรับการรักษา 4)การปรับและเชื่อมโยงระบบบริการ จัดระบบให้คำปรึกษากับจักษุแพทย์และพยาบาลเวชปฏิบัติทางตา การติดตามดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องหลังส่งต่อรักษา 5) ระบบสารสนเทศทางคลินิก พัฒนาการความสมบูรณ์บันทึกข้อมูลในโปรแกรมบันทึกเวชระเบียน 6) การสนับสนุนทรัพยากรโดยชุมชนมีส่วนร่วมประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมาย อาสาสมัครสาธารณสุขแจกจดหมายเชิญและผู้นาชุมชนประชาสัมพันธ์ ใน
หมู่บ้าน จากการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มเป้าหมายได้เข้ารับการตรวจคัดกรองจอประสาทตา ร้อยละ 68.19(5,184 คน)พบภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตา ร้อยละ 7.97 (413 คน) ข้อเสนอแนะ ควรเน้นการสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานเพื่อให้เห็นความสำคัญในการตรวจคัดกรองจอประสาทตาและกรณีผิดปกติเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง