ปรากฏการณ์การพยายามฆ่าตัวตายของประชาชนในอำเภอศรีประจันต์กรณีศึกษา ผู้มีประสบการณ์พยายาม ฆ่าตัวตายที่อาศัยอยู่ในอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • มะยม สุพรรณ

คำสำคัญ:

การฆ่าตัวตาย, ปรากฏการณ์

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรากฏการณ์การพยายามฆ่าตัวตายของประชาชนอำเภอศรีประจันต์และเพื่อนาผลการศึกษามาวางแผนการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาการพยายามฆ่าตัวตายที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย (รง 506 DS) 5 ปีย้อนหลัง (ตั้งแต่ปี 2558-2562 ) ร่วมกับการทบทวนเอกสาร เชิงวิชาการ บทความ วิทยานิพนธ์ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

     ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่าง จำนวน 191 คนที่มีประวัติการพยายามฆ่าตัวตาย ฆ่าตัวตายสาเร็จ จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 17.3 เพศชายฆ่าตัวตายสาเร็จมากกว่าเพศหญิง วิธีที่ใช้ทำร้ายตนเองมากที่สุดคือ การกินยาเกินขนาด จำนวน 74 คน คิดเป็นร้อยละ 38.7 และผลการวิเคราะห์สถิติถดถอยพหุคูณจากตัวแปรอิสระทั้ง 17 ตัว อธิบายความผันแปรของปรากฏการณ์การพยายามฆ่าตัวตายของประชาชนอำเภอศรีประจันต์ ได้ร้อยละ 19.8 โดยเมื่อพิจารณาตัวแปรอิสระที่มีอานาจในการทำนายการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์การพยายามฆ่าตัวตายของประชาชนอำเภอศรีประจันต์ ได้ดีที่สุด คือ ผิดหวัง น้อยใจ เมาขณะทำร้ายตนเอง จน/ขาดทุน ตกงาน เครียด ถูกนินทา ทะเลาะกับคนใกล้ชิด ไม่มีคนดูแล โรคจิต/ซึมเศร้า ปัญหาการใช้สุรา ทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วย สูญเสีย
คนรัก การใช้สารเสพติด ต้องการการเอาใจ ปัญหาความสัมพันธ์ในการทางาน ปัญหาที่มาจากการเจ็บป่วยตามลำดับ ทั้งนี้สาเหตุ/ปัจจัยดังกล่าวมีผลต่อปรากฏการณ์การพยายามฆ่าตัวตายของประชาชนอำเภอศรีประจันต์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-15