การพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวังสุขภาพในโรงพยาบาล

ผู้แต่ง

  • นิตยา สุวรรณชาติ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

แนวทางการเฝ้าระวังสุขภาพ

บทคัดย่อ

การพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวังสุขภาพในโรงพยาบาล เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์อาชีวเวชกรรมในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ และนำไปสู่พัฒนาแนวทางการเฝ้าระวังสุขภาพในโรงพยาบาล ซึ่งดำเนินการระหว่าง ตุลาคม 2560 – กันยายน 2562 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ปี 2560 จำนวน 1,291 คน ปี 2561 จำนวน 1,508 คน และ ปี 2562 จำนวน 1,327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความเสี่ยงอาชีวเวชกรรมในโรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ตรวจวัดความสว่าง Lux metre ยี่ห้อ foot candel รุ่น 407026 วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)

     ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 56.67 BMI ปกติ ร้อยละ 41.19 hematocrit ปกติ ร้อยละ 75.87 FBS ปกติ ร้อยละ 87.99 โคเลสเตอรอล ปกติ ร้อยละ 52.20 ไตรกลีเซอไรด์ ปกติ ร้อยละ 80.11 และเมื่อเปรียบเทียบกับ ปี 2560 และปี 2561 ค่า FBS โคเลสเตอรอลแลไตรกลีเซอไรด์ ของปี 2562 ดีกว่า ปี 2560 และปี 2561 สมรรถภาพการมองเห็น ปกติ (ร้อยละ 80.95) สมรรถภาพการได้ยิน ปกติ (ร้อยละ 48.84) และสมรรถภาพปอด ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (ร้อยละ 11.11) ระดับความเสี่ยงของหน่วยงาน ด้านกายภาพ ด้านชีวภาพ ด้านสารเคมี ด้านการยศาสตร์ อุบัติเหตุหรือสภาพการทำงานที่ไม่
ปลอดภัย อยู่ในระดับปานกลาง ผลการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 93.16ซึ่งมากกว่า ปี 2560

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-15