ผลของโปรแกรมบำบัดแบบหวนรำลึกความหลังที่เป็นสุขตามรูปแบบการพยาบาลแบบองค์รวม ในการเยียวยาจิตใจในผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ 3 จังหวัดชายแดนใต้ : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • อังคณา วังทอง โรงพยาบาลหนองจิก จังหวัดปัตตานี
  • นพ.อนุชิต วังทอง โรงพยาบาลหนองจิก จังหวัดปัตตานี
  • ซูร์ฮูดี ลีเด็ง โรงพยาบาลหนองจิก จังหวัดปัตตานี
  • นุรไอนี ลาเตะ โรงพยาบาลหนองจิก จังหวัดปัตตานี

คำสำคัญ:

กรณีศึกษา, โปรแกรมบำบัดแบบหวนรำลึกความหลังที่เป็นสุข, รูปแบบการพยาบาลแบบองค์รวมในการเยียวยาจิตใจ, ผู้ได้รับผลกระทบสถานการณ์ความไม่สงบ 3 จังหวัดชายแดนใต้

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกรณีศึกษา (Case study) นี้ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมบำบัดแบบหวนรำลึกความหลังที่เป็นสุข ตามรูปแบบการพยาบาลแบบองค์รวมในการเยียวยาจิตใจในผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ 3 จังหวัดชายแดนใต้ จำนวน 30 คน คัดเลือกแบบเจาะจง ใช้เวลาในการบำบัด 6 ครั้งๆ ละ 30-40 นาที ดำเนินการวิจัยช่วงเดือนมกราคม 2561-มีนาคม 2562 เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบคัดกรองภาวะสุขภาพจิต และ 3) โปรแกรมบำบัดแบบหวนรำลึกความหลังที่เป็นสุข วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา, paired t- test และเชิงคุณภาพ

     ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 83.3) นับถือศาสนาอิสลาม (ร้อยละ 63.3) สถานภาพหม้าย (ร้อยละ 70) อายุ 41-59 ปี (ร้อยละ 53.3) จบชั้นประถมศึกษา (ร้อยละ 40) อาชีพรับจ้าง (ร้อยละ 53.3) หลังการบำบัด HRT พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนอาการทางจิต (Depression, PTSD., Complicate grief) ลดลง (t=8.469) ลดค่าใช้จ่าย (Cost) (t=29.682) ความสุขเพิ่ม ขึ้น (t=2.714) และคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับที่ดี (t=2.994) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ข้อเสนอแนะควรนำโปรแกรมกลุ่มบำบัด HRT ขยายผลและนำไปประยุกต์ใช้ในประชาชนทุกกลุ่มวัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-23

How to Cite

วังทอง อ., วังทอง น., ลีเด็ง ซ., & ลาเตะ น. (2022). ผลของโปรแกรมบำบัดแบบหวนรำลึกความหลังที่เป็นสุขตามรูปแบบการพยาบาลแบบองค์รวม ในการเยียวยาจิตใจในผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ 3 จังหวัดชายแดนใต้ : กรณีศึกษา. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 5(3), 1–10. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/810