การนำผลของโปรมแกรมการส่งเสริมสุขภาพ พอเพียงร่วมกับวิถีมุสลิมต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานมุสลิมที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ไประยุกต์ใช้

ผู้แต่ง

  • นฤมล สุขประเสริฐ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

คำสำคัญ:

ส่งเสริมสุขภาพพอเพียง, วิถีมุสลิม, ผู้ป่วยเบาหวาน

บทคัดย่อ

     การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพพอเพียงร่วมกับวิถีมุสลิมต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานมุสลิมที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานมุสลิมที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ มารับบริการคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลปะนาเระ จังหวัดปัตตานี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด โดยการจับคู่ เพศ อายุ และระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 60 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 ราย ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพพอเพียง เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ และ กลุ่มควบคุม 30 ราย ได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพพอเพียง และ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูล
ทั่วไป แบบประเมินพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวาน และเครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด โดยโปรแกรมและแบบสอบถาม ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน โปรแกรมทดลองใช้โดยพยาบาล 5 คน และ แบบประเมินพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวาน ผ่านการตรวจสอบความเที่ยง ได้ค่าสัมประสิทธ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.82 การวิเคราะห์และเปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงบรรยาย สถิติไคสแควร์และสถิติทีอิสระ และ ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทีคู่และสถิติทีอิสระ

     ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการควบคุมโรคหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (42.23 และ 35.93, p < .001) มีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดต่ากว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (121.40 และ 225.13, p < .001) กลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการควบคุมโรค และระดับน้ำตาลในเลือด ก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .823 และ p = .713) หลังได้รับโปรแกรม กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการควบคุมโรคสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (42.23 และ 33.26 p < .001) และมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ากว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (121.40 และ 230.53 p < .001)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-23

How to Cite

สุขประเสริฐ น. (2022). การนำผลของโปรมแกรมการส่งเสริมสุขภาพ พอเพียงร่วมกับวิถีมุสลิมต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานมุสลิมที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ไประยุกต์ใช้. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 5(3), 11–16. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/811