พัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง

ผู้แต่ง

  • นันทิกานต์ หวังจิ
  • อมรรัตน์ แสงสุวรรณ์

คำสำคัญ:

model development, continuing care, elderly patients with dependency

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participation action research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์เพื่อนำมาพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง และประเมินผลลัพธ์การพัฒนา โดยดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 1) ระยะวิเคราะห์สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยสูงอายุในภาวะพึ่งพิง 2) ระยะพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่อง 3) ระยะผลการพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่อง ใช้กลุ่มตัวอย่าง ทีมสหวิชาชีพทั้งโรงพยาบาล เครือข่ายสุขภาพ และภาคีเครือข่ายการดูแลในชุมชน จำนวน 50 คน และ ผู้ป่วยสูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงและผู้ดูแล จำนวน 60 คู่ ดำเนินการวิจัยตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2561 -ธันวาคม 2561 เครื่องมือในการดำเนินการวิจัย ได้แก่แบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง แบบประเมินความพึงพอใจของทีมต่อการพัฒนา
รูปแบบ แบบประเมินกิจวัตรประจาวัน (Activity Daily Living, ADL) และแบบประเมินพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่บ้าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานได้แก่ สถิติ Pair t-test

     ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการพัฒนา 5 ประเด็นดังนี้ 1)พัฒนาแบบฟอร์มการวางแผนจาหน่าย 2) พัฒนาสมุดคู่มือการดูแลตนเองบ้าน 3)เพิ่มช่องทางการเข้าถึงและเข้ารับบริการในโรงพยาบาล 4) ติดตามโทรศัพท์ 5) มีแนวปฏิบัติบูรณาการดูแลต่อเนื่องทีมสหสาขาวิชาชีพ เมื่อทดลองใช้รูปแบบทีมพัฒนารูปแบบมีความพึงพอใจ mean=3.5 คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูสุขภาพที่บ้านอยู่ในระดับสูง mean=2.57 และประเมินผลการปฎิบัติกิจวัตรประจาวัน (ADL) โดยวัดก่อนและหลังพบว่าคะแนน ADL เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ผลการศึกษานี้จึงสรุปได้ว่า การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ปวยสูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงเป็นรูปแบบที่ทำให้เกิดความยั่งยืนของการดูแล ส่งผลให้ผู้ป่วยสูงอายุภาวะพึ่งพิงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-23