การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.)จังหวัดสระแก้ว ปี 2563

ผู้แต่ง

  • กชพรรณ หาญชิงชัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.), การประเมินโครงการแบบซิป(CIPP Model)

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) จังหวัดสระแก้ว ปี 2563 รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยประเมินผล โดยใช้เทคนิคเชิงคุณภาพ ศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตามกรอบการประเมินโครงการแบบซิป (CIPP Model) ประชากรที่ศึกษา คัดเลือกแบบเจาะจง คืออำเภอทุกอำเภอในจังหวัดสระแก้ว รวม ทั้งสิ้น 9 อำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาใช้แบบรายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.)จังหวัดสระแก้ว ปี 2563 ที่สร้างขึ้นเองเก็บข้อมูลระหว่าง เดือนตุลาคม 2563 – พฤศจิกายน 2563 ข้อมูลที่รวบรวมได้นำมาวิเคราะห์โดยข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่การแจกแจงความถี่ (Frequency) และร้อยละ (Percentage) ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis) นำมาวิเคราะห์ เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้

     การประเมินโครงการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) จังหวัดสระแก้ว ปี 2563 1) ด้านสภาพแวดล้อม พบว่า สอดคล้องกับนโยบายระดับชาติ คือ Thailand 4.0 ไทยนิยมยั่งยืน และยุทธศาสตรการพัฒนาสาธารณสุขระดับชาติ 20 ป และดำเนินการภายใต้ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ พ.ศ.2561 สอดคล้องกับนโยบายจังหวัดสระแก้ว มีการทาบันทึกข้อตกลง (MOU) โดยผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว กับ นายอำเภอทุกอำเภอ ได้กำหนด 2 ประเด็นหลัก คือ 1.การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 2.การควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก และอำเภอกาหนดประเด็นพัฒนา
คุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.) ที่เป็นปัญหาของแต่ละอำเภอ จานวน 1-3 ประเด็น และเนื่องจากมีการระบาดของโรคโควิด 19 ช่วงเดือน มีนาคม 2563 เป็นต้นมา ทุกอำเภอ จึงเพิ่มประเด็นปัญหาในพื้นที่ เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19 และสอดคล้องกับ นโยบายสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่จังหวัดสระแก้ว เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตชนบทจังหวัดสระแก้ว วิถีชีวิตของคนใน ชุมชน อยูแบบวิถีพอเพียง มีการสงเสริมการใชแนวคิดทฤษฎีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) ด้านปัจจัยนาเข้า พบว่าบุคลากร มีเพียงพอโดย มีการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตจังหวัด
สระแก้ว (พชจ.) โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว เป็นประธาน และมีนายอำเภอทุกอำเภอ เป็นคณะกรรมการ มีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสระแก้วเป็นเลขานุการ มีการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.) มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการ ในการขับเคลื่อนงานแต่ละประเด็น มีการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล(พชต.) มีจิตอาสาและอาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน(อสม.) ร่วมในการขับเคลื่อนงาน ได้รับงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ใช้ในการขับเคลื่อนระดับจังหวัด พบว่าเพียงพอ งบประมาณจากสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงสาธารณสุข ใช้สำหรับการบริหารจัดการ ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) พบว่าไม่เพียงพองบประมาณในการพัฒนาคุณภาพชีวิตรายประเด็น ตามปัญหาของแต่ละอำเภอ ส่วนใหญ่ใช้งบประมาณจาก ภาครัฐ คือ อปท.,เงินบริจาค,เงินบารุงของหน่วยงาน พบว่าเพียงพอ วัสดุและอุปกรณ์ พบว่า มีเพียงพอ ระบบการบริหารจัดการ พบว่า ระดับจังหวัด มีการติดตามการดาเนินงาน โดยให้ประธานคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.) หรือ เลขานุการคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) สรุปรายงานผลการดาเนินงานตามประเด็นปัญหาของอำเภอและประเด็นปัญหาของจังหวัด ในที่ประชุมกรมการจังหวัดสระแก้ว ทุกเดือน และที่ประชุม คปสจ.ทุกเดือน ระดับอำเภอมีการประชุมสรุปผลการดำเนินงาน รอบ 6 เดือนและ 12 เดือน ตามแนวทาง UCCARE และประชุมสรุปผลการดำเนินงานเพื่อประเมินโครงการและสรุปถอดบทเรียนการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ เดือน ตุลาคม 2563 และรายงานให้จังหวัดทราบ 3) ด้านกระบวนการ พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการระบบสุขภาพระดับพื้นที่โดยใช้ “พื้นที่เป็นฐาน ประชาชนเป็นศูนย์กลาง” ด้วยการทางานอย่างมีส่วนร่วม ของรัฐ ประชาสังคม และเอกชน ตามแนวทางประชารัฐ เพื่อสร้างเสริมความเข้มแข็งแก่ระบบสุขภาพอำเภอ ร่วมกันกำหนดประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตและดำเนินการ การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอภาพรวม ตามกรอบ UCCARE 5 ระดับ พบว่าทุกอำเภอมีผลการ
ประเมินส่วนใหญ่ ระดับ 4 คือ ผ่านเกณฑ์ไม่ต่ำกว่าระดับ 3 4) ด้านผลผลิต พบว่าประเด็นร่วมจังหวัด ได้แก่ ประเด็นที่ 1.การพัฒนาคุณภาพผู้สูงอายุ พบว่า ตัวชี้วัดที่ 1 ผู้สูงอายุได้รับการดูแลตามมาตรฐาน ร้อยละ 80 พบว่าผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 66.66 ตัวชี้วัดที่ 2.ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ได้รับได้รับการดูแลตามเกณฑ์ ร้อยละ 100 พบว่าผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 66.66 ประเด็นที่ 2 การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ตัวชี้วัด อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง ร้อยละ 20 ของมัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง (พ.ศ.2558-2562) พบว่า ผ่านเกณฑ์ เป็นร้อยละ 33.33 ประเด็นที่ 3 การป้องและควบคุมโรคโควิด 19 ตัวชี้วัด ไม่มีผู้ป่วยรายใหม่ในพื้นที่พบว่า คิดเป็นร้อยละ 66.66 หากแยกเป็นรายอำเภอ พบว่า อำเภอที่มีผลลัพธ์ผ่านเกณฑ์ทุกประเด็น จำนวน 2 อำเภอ คิดเป็นร้อยละ 22.22 อำเภอที่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 80 จำนวน 2 อำเภอ คิดเป็นร้อยละ 22.22 อำเภอที่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 60 จำนวน 2 อำเภอ คิดเป็นร้อยละ 22.22 อำเภอที่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 50 จำนวน 1 อำเภอ คิดเป็นร้อยละ 11.11 อำเภอที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 40 จำนวน 1 อำเภอ คิดเป็นร้อยละ 11.11 และอำเภอที่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 20 คิดเป็นร้อยละ 11.11

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-23