ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างความตระหนักและการรับรู้ต่อสัญญาณการฆ่าตัวตายในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • นารีรัตน์ จันทะ -

คำสำคัญ:

สัญญาณการฆ่าตัวตาย,ความตระหนัก,การรับรู้

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental study) ศึกษาแบบสองกลุ่ม วัดก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล 1 เดือน (Two group pre-post test and follow up) กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขของอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี จำนวน 68 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 34 คน และกลุ่มควบคุม 34 คน  มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ ความตระหนักถึงสัญญาณที่บ่งบอกว่าจะฆ่าตัวตายและ ความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าและโรคทางจิตเวชอื่นๆที่อาจนำไปสู่การมีความคิด ฆ่าตัวตาย ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม  ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการสร้างความตระหนักและการรับรู้ต่อสัญญาณการฆ่าตัวตายในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน แบ่งเป็นระยะทดลอง  และระยะติดตามผล 1 เดือน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามในระยะก่อนทดลอง หลังการทดลองเสร็จสิ้นทันทีและระยะติดตามผล 1 เดือนวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, Independent t-test และวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ(Two-Way Repeated Measure ANOVA) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value< 0. 05

               ผลการศึกษา พบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มทดลอง ที่ได้รับโปรแกรมการสร้างความตระหนักและการรับรู้ต่อสัญญาณการฆ่าตัวตายในชุมชนมีคะแนนเฉลี่ยความตระหนักและการรับรู้ต่อสัญญาณการฆ่าตัวตายในชุมชน ก่อนการทดลอง หลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และระยะติดตามผล 1 เดือน มากกว่า กลุ่มควบคุมซึ่งได้รับการให้ความรู้แบบปกติ

               ระยะก่อนการทดลอง กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ต่อสัญญาณการฆ่าตัวตายในชุมชนและความรู้โรคซึมเศร้าและโรคทางจิตเวช แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  

             ระยะหลังทดลอง กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีคะแนนเฉลี่ยความรู้โรคซึมเศร้าและโรคทางจิตเวช ,การรับรู้และความตระหนักต่อสัญญาณการฆ่าตัวตาย ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  

ระยะติดตามผล 1เดือน กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีคะแนนเฉลี่ยความรู้โรคซึมเศร้าและโรคทางจิตเวช แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

               ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำของคะแนนเฉลี่ยความตระหนัก และการรับรู้ต่อสัญญาณการฆ่าตัวตายในชุมชนของอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ระหว่างวิธีทดลองกับระยะเวลาการทดลองที่แตกต่างกัน มีผลต่อคะแนนเฉลี่ยความตระหนัก และการรับรู้ต่อสัญญาณการฆ่าตัวตายในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 แสดงว่ามีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างวิธีทดลองกับระยะเวลาการทดลอง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30