การพัฒนาแนวทางการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อนโดยชุมชนมีส่วนร่วม รพ.สต.สุขสำราญ ต.ดงเมือง อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ภิรญา พินิจกลาง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สต.สุขสำราญ อ.ยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
  • กาญจนา จันทะนุย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
  • พิศสมัย ไลออน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
  • ปรมาภรณ์ ดานา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สต.พังคี อ.ยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

แนวทางเยี่ยมบ้าน, ผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อน, ชุมชนมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อนโดยชุมชนมีส่วนร่วม รพ.สต.สุขสำราญ ระยะเวลาวิจัยเดือน ตุลาคม 2560 – มีนาคม 2562 ดาเนินการพัฒนาตามวิจัยเชิงปฏิบัติการของ Kemmis & Mc Taggart ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ วางแผน ปฏิบัติการ สังเกตการณ์ ประเมินผล และประยุกต์ใช้กรอบแนวคิด Holistic Nursing และ Home visit กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ 1)กลุ่มที่ร่วมพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อน ได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข รพ.สต,ทีมสหวิชาชีพ,ผู้ดูแล และภาคีเครือข่ายชุมชน รวม 40 คน 2) ผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อน 31 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน,แบบประเมิน INHOME-SSS,แบบประเมิน ADL, แบบประเมินPPS –score, แบบสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยวิธีสามเส้า (Triangulation Data) และใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content Analysis) ข้อมูลเชิงปริมาณโดยจำนวน ค่าเฉลี่ยและร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า

     1) ด้านแนวทางการเยี่ยมผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อนโดยชุมชนมีส่วนร่วม รพ.สต.สุขสำราญ ประกอบด้วย (1) การพัฒนาศูนย์ประสานงานในระดับตำบล เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อน (2) การมีคณะทำงานเพื่อกำหนดบทบาทบาทหน้าที่ของภาคีเครือข่ายในชุมชน (3) สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนโดย ผนวกกิจกรรม Nursing process ให้ชุมชนมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน(ร่วมใจ ใส่ใจเข้าใจ) (4) มีคู่มือการเยี่ยมบ้านที่ชัดเจน (5) พัฒนานวัตกรรมในการเยี่ยมบ้าน เกิดนวัตกรรมถุงป้องกันแผลเปียกน้า (6) เกิดกองทุนเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อช่วยเหลือเยียวยาด้านเศรษฐกิจ

     2) ประเมินผลผลลัพ์การดูแล พบว่า (1) ผู้ป่วยเบาหวาน มีภาวะ HbA1C<7 เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 40 เป็น ร้อยละ 50,การเกิดภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า ลดลง จากร้อยละ 40 เป็นร้อยละ 25,มีภาวะ Hypo-Hyperglycemia ลดลง จากร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 0 (2) ผู้ป่วยระยะทายมีภาวะ Good dead เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 50 เป็นร้อยละ 100 (3) ผู้ป่วยวัณโรคมีอัตรา Success rate ร้อยละ 100 (4) ผู้ป่วยจิตเวช มีภาวะกำเริบลดลงจากร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 0 (5) ผู้สูงอายุติดเตียงพัฒนาเป็นติดบ้าน จากร้อยละ0 เป็นร้อยละ 100

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-23