ระบบการเฝ้าระวังป้องกันการป่วยซ้ำผู้ป่วยจิตเภทโดยการมีส่วนร่วมอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี : กรณีศึกษาตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

ผู้แต่ง

  • สุจิตรา ลักษณะ โรงพยาบาลโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

คำสำคัญ:

ระบบการเฝ้าระวังป้องกันการป่วยซ้ำ, ผู้ป่วยจิตเภท, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

     การวิจัยเป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระบบการเฝ้าระวังป้องกันการป่วยซ้ำผู้ป่วยจิตเภทโดยการมีส่วนร่วมอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ตามคุณสมบัติ แกนนำเครือข่ายในชุมชน 30 คน และผู้ป่วยจิตเภท 27 คน เก็บข้อมูลโดยใช้
กระบวนการสนทนากลุ่มแบบมีส่วนร่วม Discussion ORID Method : ORID นำผลจากการสนทนากลุ่มมาพัฒนา 7 ขั้นตอน และใช้แบบประเมินความสามารถในการใช้ชีวิตของผู้ป่วยจิตเภท (Global Assessment of Functioning Scale : GAF) วิเคราะห์ข้อมูลแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ

     ผลการวิจัย พบว่ามี 4 กระบวนการ 1) การเฝ้าระวังการป่วยซ้ำ มีการจัดฐานข้อมูลผู้ป่วยจิตเภทเป็นรายบุคคล โดยแบ่งประเภทผู้ป่วยเป็น 3 กลุ่ม ในการดูแล 2) ดูแลระยะวิกฤตฉุกเฉิน มีระบบการดูแลช่วยเหลือโดยทีมเครือข่ายอย่างมีขั้นตอน 3) การรักษาพัฒนาตามระบบ Service plan จากโรงพยาบาลแม่ข่าย สู่โรงพยาบาลลูกข่าย ขยายผลสู่เครือข่ายในชุมชน และ 4) การฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยจิตเภท โดยการส่งเสริมอาชีพดังนั้น การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน ซึ่งประกอบด้วย ครอบครัว/ผู้ดูแล ผู้ป่วยและภาคีเครือข่ายในชุมชนเป้าหมายอันสูงสุดคือผู้ป่วยจิตเภทสามารถใช้ชีวิตในครอบครัวและชุมชนได้อย่างปกติสุข ในบริบทสังคมที่เป็นอยู่จริง และเกิดความยั่งยืน ต่อเนื่อง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-23

How to Cite

ลักษณะ ส. (2022). ระบบการเฝ้าระวังป้องกันการป่วยซ้ำผู้ป่วยจิตเภทโดยการมีส่วนร่วมอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี : กรณีศึกษาตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 5(3), 129–137. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/853