การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูงหลังใส่เฝือก : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • บุญสม พวงนาค พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

คำสำคัญ:

ภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง, ใส่เฝือก

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูงหลังใส่เฝือก

     ผลการศึกษา : ผู้ป่วยกรณีศึกษาเป็นผู้ป่วยชายไทย อายุ 35 ปีเข้ารับการตรวจที่ห้องตรวจศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช วันที่ 6 มกราคม 2563 ด้วยประวัติว่าผู้ป่วยปวดขาข้างขวาที่ใส่เฝือกมาก 2 วัน ก่อนมาโรงพยาบาล ผู้ป่วยมีประวัติตกจากบันได และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนได้รับการวินิจฉัยว่ากระดกูทิเบียส่วนต้นหัก ได้รับการใส่เฝือกขาขวาไว้ การพยาบาลผู้ป่วยได้แบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 การพยาบาลระยะก่อนตรวจ ผู้ป่วยมีอาการและอาการแสดงของภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง โดยมีภาวะอวัยวะส่วนปลายบวม ปวด ซีด ชา สัมผัสเย็น ตรวจพบ sensory function ที่ผิดปกติ พยาบาลประเมินอาการอย่างใกล้ชิด ป้องกันการตกเปลนอน จัดท่าทางให้สุขสบาย จำแนกประเภทผู้ป่วยตามมาตรฐาน และจัดเตรียมความพร้อมของ
เวชระเบียน ประสานกับแพทย์เพื่อนำผู้ป่วยเข้ารับการตรวจทันที ระยะที่ 2 การพยาบาลขณะตรวจ แพทย์วินิจฉัยโรคว่าผู้ป่วยมีภาวะกระดูกทิเบียส่วนต้นหักชนิดปิดร่วมกับมีภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง พยาบาลตัดเฝือกบริเวณขาขวาอย่างระมัดระวังไม่เกิดภาวะบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อและหลอดเลือด ประเมินภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูงซ้ำ พบว่า กล้ามเนื้อ tibialis anterior แข็งตึง คลำ dorsalist pedis pulse เบา ระดับ 1 ทดสอบ Blanching test นานกว่า 3 วินาที ทดสอบ motor function พบว่าผู้ป่วยกระดกข้อเท้าได้น้อย ใส่ Posterior long leg slab อย่างถูกวิธี แพทย์วางแผนให้รักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่อทำผ่าตัด fasiotomy ระยะที่ 3 การพยาบาลระยะหลังตรวจ ดูแลนำผู้ป่วยไปห้องฉุกเฉิน เพื่อให้ยาแก้ปวดชนิดมอร์ฟีน ประเมินผลข้างเคียงของยาอย่าง
ใกล้ชิด ไม่พบภาวะดังกล่าว หลังจากนั้นติดต่อประสานงานเพื่อรับผู้ป่วยไว้นอนรักษาพยาบาล และนำส่งไปหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกชายอย่างปลอดภัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-25