การพยาบาลผู้คลอดที่มีอาการชักจากภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • มานิตา สิริวิบูลย์ฤทธิ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานการพยาบาลผู้คลอด กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

คำสำคัญ:

การพยาบาล, ภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้การพยาบาลผู้คลอดที่มีอาการชักจากภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง
     ผลการศึกษา: หญิงตั้งครรภ์อายุ 31 ปี ครรภ์ที่ 2 อายุครรภ์ 38 สัปดาห์ ฝากครรภ์จานวน 4 ครั้ง เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลวันที่ 31 สิงหาคม 2563 ด้วยอาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัว จุกแน่นใต้ลิ้นปี่ 30 นาทีก่อนมาโรงพยาบาล แพทย์วินิจฉัย Eclampsia in Labour แรกรับมีขาบวม 2 ข้าง DTR 2+ ระดับความดันโลหิต 210/130 มิลลิเมตรปรอท ระหว่างรอคลอดมีชักเกร็ง 1 ครั้ง ให้การพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดอาการชักซ้า สังเกตอาการทางระบบประสาท เฝ้าระวงั ภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจน และติดตามภาวะขาดออกซิเจนของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด ดูแลให้ยาและบริหารยาแมกนีเซี่ยมซัลเฟต (MgSO4) ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยา เตรียมผ่าตัดคลอดฉุกเฉิน ระยะก่อนผ่าตัดไม่มีอาการชักเกร็งซ้ำ ไดรั้บการผ่าตัด Cesarean section due to Eclampsia with tubal resection หลังผ่าตัดคลอดคาท่อช่วยหายใจ On Volume ventilator ติดตามอาการและระดับความดันโลหิตอย่างใกล้ชิด เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ป้องกันการเกดิ อาการชักซ้ำและภาวะตกเลือดหลังคลอด ใส่ท่อช่วยหายใจ 1 วัน ถอดท่อหายใจได้ หยุดการให้ยา MgSO4 ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยา ไม่มีภาวะตกเลือดหลังคลอด หญิงหลังผ่าตัดคลอดอาการดีขึ้นตามลาดับ สามารถไปให้นมบุตรได้ วางแผนจำหน่ายให้คำแนะนำหญิงหลังคลอดและญาติเกี่ยวกับการดูแลตนเอง การควบคุมระดับความดนั โลหิตหลังคลอด จา หน่ายวนั ที่
5 กันยายน 2563 รวมระยะเวลาการนอนรักษาพยาบาล 5 วัน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-25