การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบที่มีภาวะหัวใจห้องบนเต้นพริ้ว: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • อนงค์ แย้มสว่าง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอายุรกรรม กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

คำสำคัญ:

การพยาบาล, โรคหลอดเลือดสมองตีบ, หัวใจห้องบนเต้นพริ้ว

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบที่มีภาวะหัวใจห้องบนเต้นพริ้ว
     ผลการศึกษา : ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 74 ปี มาด้วยอาการแขนขาขวาอ่อนแรง พูดไม่ชัด 1 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล แพทย์วินิจฉัยเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน (Lacunar Infarction) ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจพบ Atrial fibrillation rate 100 ครั้ง/นาที ร่วมกับความดันโลหิตสูง (220/120 มิลลิเมตรปรอท) ประเมิน INHSS score 6 คะแนน ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยา Recombinant tissue plasminogen activator (rt-PA) ภายใน 40 นาที ดูแลควบคุมระดับความดันโลหิตและแก้ไขภาวะหัวใจเต้นพริ้วด้วยยา Nicardipine และ Warfarin ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาละลายลิ่มเลือด หลังให้ยา
ละลายลิ่มเลือด ไม่เกิดภาวะสมองบวม และหลอดเลือดสมองแตก สัญญาณชีพ ความดันโลหิต 148/94-150/90 มิลลิเมตรปรอท ชีพจร 98 ครั้ง/นาที หายใจ 20 ครั้ง/นาที ผู้ป่วยมีภาวะการกลืนลาบากได้รับการใส่สายยางให้อาหาร ร่วมกับการประเมินและฝึกการกลืนจนสามารถรับประทานอาหารได้ ต่อมาผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นเป็นลาดับ พักรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลา 14 วัน พยาบาลให้ความรู้และแนะนาวิธีการดูแลแก่ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยก่อนกลับบ้าน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-25