ผลการติดตามการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโดยการพัฒนาระบบเติมยา เพื่อนำส่งยาให้ผู้ป่วยที่บ้าน ในสถานการณ์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของโรงพยาบาลกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
ระบบเติมยา, วิถีชีวิตใหม่, ความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบเติมยาในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในสถานการณ์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของโรงพยาบาลกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ด้วยการคัดเลือกผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยแบบเจาะจงจำแนกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วยผู้ให้บริการ (7 คน) ภาคประชาชน (130 คน) และกลุ่มสหวิชาชีพ (7 คน) รวมทั้งสิ้น 144 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสังเกตการณ์มีส่วนร่วม แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบประเมินการมีส่วนร่วม และแบบประเมินความพึงพอใจในการพัฒนาระบบบริการ เก็บรวบรวมโดยสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง ระหว่างเดือน มกราคม 2565 – มีนาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด-สูงสุด และวิเคราะห์เชิงเนื้อหาของข้อมูล
ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาระบบเติมยาในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในสถานการณ์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19ของโรงพยาบาลกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม การจัดระบบการให้บริการ โดยวิเคราะห์การดำเนินงานตามกระบวนการพัฒนาระบบบริการความดันโลหิตสูงในสถานการณ์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19ที่ระบบบริการที่พัฒนาขึ้นให้เกิดความสมบูรณ์และพัฒนาต่อเนื่อง เป็นการพัฒนาจัดระบบบริการในสถานการณ์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยการมีส่วนร่วมจากทีมบริหาร ทีมสหวิชาชีพ ผู้นำชุมชน แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ทำให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในโรงพยาบาลกันทรวิชัย ได้รับบริการที่มีคุณภาพเหมาะสมสอดคล้องกับบริบท มีประสิทธิภาพมากขึ้น กระบวนการพัฒนาระบบบริการครั้งนี้ เป็นผลสำเร็จจากการปรับพัฒนาระบบบริการในสถานการณ์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เน้นกระบวนการกิจกรรมที่ครบวงจรทั้งระบบ เน้นการทำงานแบบเชื่อมโยงมีส่วนร่วมกับชุมชนและเครือข่ายในพื้นที่ โดยมีกลไกการสนับสนุนที่ดีของหน่วยบริการและทีมผู้ดูแลทั้งในและนอกสถานบริการ